รีวิว รายากับมังกรตัวสุดท้าย

นานมาแล้ว ในโลกมหัศจรรย์แห่งคูมันดรา มนุษย์และมังกรอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ แต่เมื่อเหล่าสัตว์ประหลาดสุดชั่วร้ายที่เรียกว่า ดรูน ได้บุกรุกเข้ามา เหล่ามังกรได้เสียสละตัวเองเพื่อปกป้องมนุษยชาติ ตอนนี้ 500 ปีผ่านไป สัตว์ประหลาดพวกนั้นได้กลับมาอีกครั้ง และมันเป็นหน้าที่ของ รายา (พากย์เสียงโดย แคสซี่ สตีล) นักรบผู้สันโดษ

กับการตามหามังกรตัวสุดท้าย เพื่อที่จะกำจัดดรูนให้หายไปตลอดกาล อย่างไรก็ตาม ระหว่างการเดินทางของเธอ เธอจะได้รู้ว่า มันต้องใช้มากกว่ามนต์มังกรในการปกป้องโลก มันยังต้องใช้ความเชื่อมั่นอีกด้วย  อนิเมะผู้หญิง

เมื่อยังเล็ก เด็กผู้หญิงหลายคนอาจมีคำตอบเรื่องอาชีพในอนาคตว่าอยากเป็นเจ้าหญิงดิสนีย์ ชุดเจ้าหญิงที่หลายคนมีประกอบเป็นเซ็ตด้วยเสื้อผ้าสีหวาน เครื่องประดับ มงกุฏ และวิกผมสีต่าง ๆ เราฝันอยากเป็นเจ้าหญิงที่อยู่ในปราสาทมียอดพุ่งแหลม ต่างกับบ้านหลังคาจั่วของเรา ดูแล้วตื่นตาตื่นใจแต่ช่างไกลตัว และถ้ามีใครพูดว่าดิสนีย์จะมี

ตัวละครเจ้าหญิงไทยคงเป็นเรื่องไกลเกินฝัน แต่วันนี้ ‘รายากับมังกรตัวสุดท้าย’ สร้างความอบอุ่นคุ้นเคยให้เราเมื่อได้ชม สถาปัตยกรรม ลายผ้า อาหาร วัฒนธรรม หรือแม้แต่ชื่อตัวละครที่มีหลายชื่อที่คุ้นหู สร้างความรู้สึกเหมือนได้กินอาหารไทยเมื่อไปไกลบ้าน ไม่ใช่ไทยแท้ แต่เราสัมผัสได้ถึงรสชาติของบ้านเกิดที่อยู่ในนั้นอย่างชัดเจน   ดูอนิเมะ

รีวิว รายากับมังกรตัวสุดท้าย   

‘รายากับมังกรตัวสุดท้าย’ เป็นเรื่องราวของ ‘รายา’ เจ้าหญิงนักรบจากเผ่าหัวใจ ที่ออกตามหา ‘ซีซู’ มังกรตัวสุดท้ายในตำนาน เพื่อที่จะกอบกู้เมืองและปราบปีศาจดรูนที่ทำให้ทุกคนกลายเป็นหิน แต่การที่ภารกิจจะสำเร็จได้ เธอต้องออกตามล่าชิ้นส่วนของมณีมังกรจากทุกเผ่าเพื่อรวมให้เป็นหนึ่งเดียว หากทำได้ปีศาจจะสลายไปและทุกเผ่าอาจจะรวมตัวกลับมาเป็นดินแดนคูมันตราได้อีกครั้ง แต่รายาจะฝ่ากำพงในใจของตัวเองและเรียนรู้ที่จะไว้ใจศัตรูต่างเมืองที่เคยทรยศเธอได้อย่างไรเราต้องไปดูในเรื่อง  เว็บดูอนิเมะ

รายา เป็นแอนิเมชั่นที่ได้รับแรงบันดาลใจจากวัฒนธรรมเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ แต่อะไรคือแรงดึงดูดที่พาให้ดิสนีย์อยากผลิตหนังที่ได้แรงบันดาลใจมาจาก ประเทศเล็ก ๆ ที่ประชากรในแต่ละประเทศอยู่เพียงหลักสิบหลักร้อยล้านคน ต่างกับที่เคยพยายามบุกตลาดจีนที่มีประชากรอยู่หลักพันล้านด้วยมู่หลาน?  รายากับมังกรตัวสุดท้าย สปอย

คำตอบน่าจะเป็นตัวเลขประชากรกว่า 670 ล้านคนทั่วเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ‘รายากับมังกรตัวสุดท้าย’ จึงเป็นแอนิเมชั่นที่ไม่ได้แรงบันดาลใจจากประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่เป็นตัวแทนของประชากรทั้งภูมิภาค นอกจากนี้ยังเป็นการนำร่องการมาของดิสนีย์พลัส บริการสตรีมมิ่งที่กำลังจะเข้ามาเปิดบริการในภูมิภาคของเราในอนาคตอันใกล้นี้ เสมือนเป็นจดหมายผูกมิตรจากดิสนีย์ว่าตลาดเอเซียตะวันออกเฉียงใต้มีพื้นที่ในจักรวาลของดิสนีย์เช่นกัน

การดำเนินเรื่อง

ความฉลาดของดิสนีย์และทีมงานคือการผสมเอาวัฒนธรรมเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว ไม่ได้เนียนเป็นเนื้อเดียวจนแยกกันไม่ออกและกลายเป็นการเหมารวม แต่ทำให้คนดูสนุกกับการค้นหาวัฒนธรรมของตัวเองที่ซ่อนอยู่ในแอนิเมชั่น เหมือนเราที่ตื่นเต้นเล็กๆ ทุกครั้งที่ได้ยินชื่อ เบญจา น้อย ตุ๊กตุ๊ก ปรานี เห็นตัวละครกินของที่เราคุ้น ๆ

กันตามตลาด สถาปัตยกรรมคล้ายคลึงบ้านเมืองของตัว แต่ขณะเดียวกันก็ชี้ได้ไม่ชัดว่าตัวร้ายหรือนางเอกมาจากประเทศไหนให้ใครรู้สึกระคายใจ ทุกอย่างที่ใส่เข้าไปค้นคว้ามาอย่างดีจากผู้เชี่ยวชาญ เลือกแล้วอย่างระมัดระวังและให้เกียรติกันอย่างเต็มที่  ดูการ์ตูนอนิเมะ

เห็นได้ชัดเจนจากการโปรโมต และการคัดเลือกทีมงานที่มาอยู่เบื้องหลัง ถึงแม้นักแสดงส่วนใหญ่ที่ให้เสียงพากย์จะเป็นชาวอเมริกันและอังกฤษ เชื้อสาย จีน ฮ่องกง และเกาหลี ที่มีชื่อเสียงอยู่แล้วในวงการ มีเพียงนักแสดงเชื้อสายเวียดนามสองคนเท่านั้น แต่ทีมงานเบื้องหลังทีมาจากหลายประเทศในภูมิภาคนี้ก็ถูกนำออกมาโปรโมตในประเทศบ้านเกิด

อย่างเต็มที่เช่นกัน อย่าง ‘อะเดล ลิม’ และ ‘กี เหงียน’ ผู้เขียนบทชาวมาเลเซียและเวียดนาม หรือ ‘ฝน วีรสุนทร’ Head of Story จากประเทศไทย และการใช้กล่าวว่านักแสดงไทยอย่าง ‘ญาญ่า อุรัศยา’ เป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจการสร้างตัวละครขึ้นมาเป็นต้น สิ่งเหล่านี้สร้างพื้นที่ให้คนดูจากชาติต่างๆ ในแอนิเมชั่นเรื่องนี้ เน้นย้ำความเป็นพหุวัฒนธรรม ไม่แพ้กับเนื้อเรื่องและภาพที่เคลื่อนไหวอยู่ตรงหน้าเรา    รายากับมังกรตัวสุดท้าย เนื้อเรื่อง

รีวิว รายากับมังกรตัวสุดท้าย

พล็อตเรื่อง

ด้านเนื้อเรื่อง แม้จะมีความเป็นสูตรสำเร็จสไตล์ดิสนีย์แต่ก็นำเอาข้อปัญหาที่เกิดขึ้นจริงอย่างการไม่ไว้ใจกันระหว่าประเทศเพื่อนบ้าน เพราะอดีตที่เคยขัดแย้งกัน การมองชาติพันธุ์ต่างๆ อย่างเหมารวม เหมือนที่รายามองเผ่าต่างๆ ผ่านทัศนคติที่ถูกหลอมมาจากอดีตมาใส่ไว้ ให้เราได้ฉุกคิดว่าแม้เราจะอยู่รวมกัน แต่น้อยครั้งที่เราจะรู้สึกว่าเราเป็นหนึ่งเดียวกัน พร้อมกับชี้ให้เราเห็นความงามของความเหมือนในความต่าง ที่เราอาจจะลืมไปแล้วหรือไม่ได้คิดถึงมัน  ดูการ์ตูนอนิเมะ

‘รายากับมังกรตัวสุดท้าย’ จึงไม่เพียงแต่ทำให้เรารู้สึกว่าเรามีจุดยืนในจักรวาลดิสนีย์เท่านั้นแต่พาทำให้เรารู้สึกเหมือนได้เดินเข้าไปใกล้เพื่อนบ้านอาเซียนของเรามากขึ้น ราวกับว่าได้ยืนเคียงข้าง ถือเสี้ยวของมณีมังกรและนำมารวมกันเป็นหนึ่งในภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วยกัน  รายากับมังกรตัวสุดท้าย เรื่องย่อ

แนวภาพยนตร์ : การ์ตูนดิสนีย์, การผจญภัย, แอ็คชั่นต่อสู้, มิตรภาพ

ค่ายหนัง :Walt Disney Animation Studios

พากย์เสียงโดย: เคลลี่ มารี ทราน(ตัวละคร รายา), อควาฟินา (ตัวละคร มังกรซีซู) , เจมม่า ชาน (ตัวละคร นามารี)

เข้าฉายวันที่ : 4 มีนาคม 2564 ทุกโรงภาพยนตร์ทั่วประเทศ

รีวิว รายากับมังกรตัวสุดท้าย

รีวิว รายากับมังกรตัวสุดท้าย บทสรุป

ในสูตรสำเร็จดิสนีย์มักมีประเด็นที่ต้องการสื่อเสมอโดยเฉพาะ Raya เองก็มีประเด็นเรื่องความไว้ใจที่หนังเองก็ช็อกคนดูด้วยฉากเปิดเรื่องที่เต็มไปด้วยหายนะที่น่าตกใจไม่น้อย และมันให้ภาพด้านลบกับความไว้ใจมาก ๆ จนมันนำไปสู่เควสต์ของนางเอกที่ต้องกอบกู้สถานการณ์โดยประเด็นเรื่องความไว้ใจเป็นธีมที่ร้อยรัดกันไปทั้งเรื่องแต่สิ่งหนึ่งที่หนังไม่อาจสร้างความไว้ใจให้เราได้เลยคือโจทย์ของวัฒนธรรมที่หนังเอามานำเสนอนี่แหละ  raya and the last dragon บทสรุป

ทีนี้สิ่งที่คิดว่าน่าสนใจและชวนคิดต่อมากคือการพยายามสร้างโลกและเรื่องราวที่อิงกับความเป็นอาเซียนนี่แหละ ที่ดิสนีย์ก็ไม่ได้เอาวัฒนธรรมมาทื่อ ๆ หรอกนะครับแต่ปน ๆ กันให้เราจับนู่นผสมนี่คิดเอาเองว่ามาจากชาติไหนดังนั้นเราจึงเห็นหน้าตาตัวละครที่โครงหน้าคล้ายคนฮาวายจาก Stitch & Lilo มาอยู่ในชุดคล้ายคนอินโดนีเซียมั่ง

เวียดนามมั่ง เดินอยู่ท่ามกลางภูมิประเทศแบบเกาะบาหลี แต่ชื่อตัวละครปน ๆ มีทั้งลาว – ไทยอย่าง น้อย ทอง บุญ ตุ๊กตุ๊ก (แต่มังกรชื่อ ซิซู นะ) บวก ๆ มั่ว ๆ กับชื่อประหลาด ๆ ที่ไม่คุ้นเลยว่าจะเป็นคนอาเซียนแต่หากมองดูดี ๆ เราจะพบว่า Raya อาจกำลังวิพากษ์บางอย่างที่เป็นเอกลักษณ์มากสำหรับคนอาเซียนนั่นคือการหาเรื่องทะเลาะกันเอง

รีวิว รายากับมังกรตัวสุดท้าย

โดยรวมหนัง

ตัวละครที่ชอบมีสองตัวคือรายา (พากย์เสียงโดย เคลลี่ มารี ทราน/พากย์ไทยโดย ญาญ่า) ดูบู๊ก๋ากัน แต่จิตใจดี เป็นเจ้าหญิงแนวผจญภัยคล้าย ๆ เจ้าหญิงเมอริดา ในเรื่อง Brave แต่รายานั้นผมเรียบตรง หัวไม่ค่อยยุ่งเหยิงเท่ากับเมอริดา แต่มีความโก๊ะทำให้เกิดเรื่องผิดพลาดอยู่หลายครั้ง

ตัวละครอีกตัวที่ชอบคือมังกรซีซู เพราะเป็นมังกรที่มี happy vibe มองโลกในแง่บวกตลอดทำให้ดูแล้วมีความสุข ลืมความกังวลของปมเรื่องไปได้ คนพากย์เสียงซีซู คืออควาฟิน่า เป็นคนที่มีเสียงเป็นเอกลักษณ์มาก แค่ฟังเสียงก็นึกถึงบทที่เธอเคยเล่นเป็น เพกลิน เพื่อนนางเอก ราเชล ชู ในเรื่อง Crazy Rich Asians แล้ว แค่นึกถึงก็ขำแล้ว ในเรื่อง Crazy Rich Asians นี้อควาฟิน่าแสดงได้ฮาจริง ๆ

ที่แน่นอนเลยว่าแต่ละชาติย่อมจะต้องตีความเข้าข้างตัวเองแน่นอนว่าดิสนีย์หยิบวัฒนธรรมของชาติตนอะไรบ้างไปแอปพลายนำเสนอในแอนิเมชันที่จินตนาการจัด ๆ แบบนี้ลำพังอย่างชื่อตัวละครน้อยเด็กทารกที่ไม่พูดเลยและอยู่แต่กับลิงเนี่ยชวนสงสัยมากเพราะเอาจริง ๆ จะน้อย จะทอง จะบุญ หรือตุ๊กตุ๊กก็ยากจะตัดสินแล้วว่าชื่อแบบนี้คือ

ชื่อคนไทยหรือลาวเพราะเรามีวัฒนธรรมร่วมที่มีความใกล้เคียงกันมากหรือกระทั่งอินโดนีเซีย มาเลเซียเองก็มีความคล้ายกันมาก ๆ จนในสายตาฝรั่งที่แม้ทีมงานบทจะมีชื่อคนเชื้อสายเอเซียอยู่ ก็ยากจะแยกออกจนทำให้หนังดูมีความเป็นพหุวัฒนธรรมที่กลมกลืนกันจนยากจะแยกว่าเอามาจากชาติไหน  raya and the last dragon สนุกไหม

แปลกไม่น้อยที่หนังหยิบเอาประเด็นการรวมกันเป็นปึกแผ่นมาพูดควบคู่ไปกับประเด็น “ความไว้ใจ” ที่หนังเอาเป็นธีมหลักของเรื่องราวยิ่งพิจารณาจากนโยบายเขตเศรษฐกิจอาเซียนที่ตั้งแต่ก่อตั้งปี 2510 ยาวมายัน 2553 หรือ 11 ปีก่อนเราแทบ “ไม่เคยมีหัวใจเดียวกัน” สักเรื่องไม่ว่าจะเป็นกำหนดการเปิดเรียนหรือการตกลงเรื่องการค้าที่เป็น

รูปธรรมเราได้แค่ “เศษเสี้ยว” ของผลประโยชน์ไม่ต่างจากอัญมณีแห่งมังกรที่หล่นแตกตอนต้นเรื่องดังนั้น Raya and the last dragon ก็เหมือนบทเรียนอาเซียนในอุดมคติที่อเมริกาเหมือนแซะเราว่า “เมื่อไหร่จะมีใครเริ่มเสียที”

ติดตามรีวิวหนังการ์ตูนอนิเมะเรื่องอื่นๆได้ที่     การ์ตูน ดิสนีย์ netflix

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *