รีวิว Cars 3 สี่ล้อซิ่ง ชิงบัลลังก์แชมป์
ภาคแรกของหนังเรื่องนี้ เริ่มต้นขึ้นในปี 2006 ทำรายได้ดีมากก่อนภาคที่สองจะตามมาในปี 2011 ซึ่งค่อนข้างจะออกทะเลมากไปนิด หลายคนรวมทั้งนายแพทเลยไม่ค่อยประทับใจสักเท่าไหร่ แล้วมันก็หายไปนานราว 6 ปี ก่อนจะกลับมาอีกครั้งในวันนี้
หลังผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลายสนาม ไลท์นิ่งแมคควีน (ให้เสียงโดย โอเวน วิลสัน) รถแข่งสีแดงแรงฤทธิ์จำต้องซิ่งมิดไมล์เพื่อพิสูจน์ว่าเขายังคงเป็นรถแข่งแชมป์โลกที่มีลมหายใจอยู่ ท่ามกลางรถแข่งหน้าใหม่โดยเฉพาะ แจ็คสัน สตอร์ม (ให้เสียงโดย อาร์มี แฮมเมอร์) รถแข่งดาวรุ่งพุ่งแรงที่หวังดับอนาคตของเขา
CARS ภาคแรกออกฉายในปี 2006 หรือเมื่อ 11 ปืที่แล้ว ประสบความสำเร็จทั้งรายได้และเสียงวิจารณ์ทางบวกจนส่งให้หนังเข้าชิงรางวัลออสการ์สาขาอนิเมชั่นยอดเยี่ยมเหมือนหนังจากสตูดิโอ พิกซ่าร์ เรื่องอื่นๆและผลพวงจากความโด่งดังของหนังก็ทำให้สตูดิโอดิสนีย์สามารถขายสิทธิคาแรกเตอร์แก่ผลิตภัณฑ์ต่างๆฟันกำไรมหาศาล
จนดำเนินรอยตาม Toy Story อนิเมชั่นเรือธงของค่ายด้วยการสร้างภาคต่อ CARS 2 ออกฉายในปี 2011 โดยเพิ่มกิมมิคหนังสายลับในเรื่องราวจนออกนอกลู่ไปไกลทำให้เสียงวิจารณ์ไม่สู้ดีนักแถมทำรายได้ในประเทศน้อยกว่าทุนสร้างเสียอีก แต่ด้วยรายรับรวมทั่วโลกก็ยังสามารถผลักดันให้เกิดโปรเจคต์คล้ายกันอย่างหนังอนิเมชั่น Planes ทั้ง 2 ภาค
ในปี 2013 และ 2014 ที่แทบจะถอดทุกอย่างมาจาก CARS แค่เปลี่ยนจากรถเป็นเครื่องบินเท่านั้นเอง เพื่อหวังขายสิทธิคาแรคเตอร์ที่ทำกำไรมหาศาลให้ดิสนีย์แบบไม่สนคุณภาพหนัง
ดังนั้นวาระการกลับมาของ CARS ในสนามที่ 3 ที่สามนี้จึงมีนัยยะสำคัญในแง่ของการกู้ศรัทธาให้หนังชุดนี้ ซึ่งหนังตัวอย่างเองก็พยายามยกระดับความรุนแรงทางอารมณ์ด้วยการนำเสนอภาพรถไลท์นิ่งแมคควีนถูกชนจนพังยับเยินเพื่อกระตุ้นความสนใจผู้ชมวัยรุ่นที่ผ่านความรุนแรงของหนังซูเปอร์ฮีโร่มานักต่อนัก และแน่นอนว่าจากตัวอย่างก็พอทำให้
เราเดาทางได้ไม่ยากว่าตัวหนังจะต้องพูดเรื่อง “วันเวลา”และ “ความร่วงโรย” ศัตรูตัวฉกาจของเหล่านักแข่ง ซึ่งหนังภาคนี้ก็ให้ภาพแมคควีนไม่ต่างจากรถแข่งตกรุ่นท่ามกลางรถแข่งรุ่นใหม่โดยเฉพาะ แจ็คสัน สตอร์ม ตัวแทนของรถยุคดิจิตอลที่ซ้อมกับซีมูเลเตอร์ คอมพิวเตอร์จำลองการแข่งในสนามจริง แถมทำความเร็วได้เกิน 200 ไมล์ต่อชั่วโมงแบบ
สบายๆ ซึ่งลำพังแค่ชื่อตัวละครก็เป็นสัญญะในตัวมันอยู่แล้วว่าสายฟ้า (lightening) อาจต้องหลีกทางให้ พายุ (storm) ลูกใหม่ที่โหมกระหน่ำพรั่งพร้อมทั้งกำลังเครื่องยนต์และความทะเยอทะยาน
หนังอุทิศครึ่งเรื่องแรกให้กับการที่ แมคควีน พยายามทำทุกอย่างเพื่อให้ตนทำความเร็วได้ทัดเทียมแจ็คสัน สตอร์ม ซึ่งก็คือการได้ฝึกกับ ซีมูเลเตอร์ นั่นทำให้ แมคควีน พาเราไปรู้จักกับตัวละครใหม่ทั้ง สเตอร์ลิง (นาธาน ฟิลเลียน) นายทุนผู้มาเทคโอเวอร์ “รัสตีซ” กิจการที่เป็นสปอนเซอร์ให้เขาที่เสนอการฝึก แมคควีน เพื่อให้พร้อมลงแข่งในสนามฟล
อริด้า โดยมี ครูซ รามิเรซ (คริสเตลา อาลอนโซ)เป็นเทรนเนอร์ให้ ซึ่งเรื่องราวในส่วนนี้มีการแฝงการวิพากษ์เรื่องระบบทุนนิยมมาแบบเนียนๆ โดยเฉพาะตัว สเตอร์ลิง ที่น่าจะมาจากสกุลเงิน ปอนด์สเตอร์ลิงที่ออกลายพ่อค้าหัวใสยื่นข้อเสนอให้แมคควีนแขวนยางแลกกับส่วนแบ่งสินค้าภายใต้แบรนด์จากชื่อของเขา ซึ่งหากเราคิดให้ดี หรือนี่พิกซ่าร์
ต้องการเสียดสี ดิสนีย์ นายทุนตัวเองที่มักหากินกับการให้บริษัทในเครือผลิตคอนเทนต์มาเสริมการขายสิทธิคาแรกเตอร์ที่ทำกำไรมหาศาลให้ตัวเองกันนะ? แต่ถึงผู้สร้างจะตั้งใจหรือไม่ การเชื่อมโยงระหว่างระบอบทุนนิยมกับความต้องการของแมคควีน
ที่ต้องการพัฒนาศักยภาพตัวเองเพียงแค่ความเร็วก็ไม่ต่างจากการพัฒนาเพียงแค่เปลือก ซึ่งเป็นปัญหาของเด็กในยุคปัจจุบันที่ต้องดีกว่าคนอื่น เก่งกว่าคนอื่น และเด่นกว่าคนอื่น จนมีเด็กจำนวนไม่น้อยที่ตกสำรวจกลายเป็นคนที่ละทิ้งความฝัน ซึ่งตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดเห็นจะเป็น ครูซ รามิเรซ ผู้เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในเรื่องราวครึ่งหลัง
รีวิว Cars 3 สี่ล้อซิ่ง ชิงบัลลังก์แชมป์
แน่นอนว่าหากครึ่งเรื่องแรกคือการต่อติดกับหนังภาคแรก ครึ่งหลังของหนังก็คือการตอกย้ำปมที่ภาคแรกวางไว้ หลังจากดั้นด้นหาวิธีเพิ่มความเร็วให้ตัวเองด้วยวิธีสมัยใหม่ไม่ได้ผล แมคควีน ก็กลับไปยังเมืองโธมัสวิลล์ที่อยู่ของตำนานรถแข่ง
และคนที่เขาหวังพึ่งพาที่สุดก็คือ สโมคกี้ (คริส คูเปอร์) เทรนเนอร์ของ ด็อค ฮัดสัน ครูของเขา และจากการฝึกก็ทำให้แมคควีนค่อยๆค้นพบเป้าหมายในชีวิต โดยมี ครูซ รามิเรซ เทรนเนอร์ที่มองแมคควีนเป็นฮีโร่คอยอยู่เคียงข้าง ซึ่งเรื่องราวในครึ่งหลังนี้ยัง
เป็นการต่อยอดจากบทสรุปของหนังภาคแรกที่ท้ายเรื่อง แมคควีน ค้นพบคุณค่าของการเป็นรถนักแข่งที่มากกว่าแค่ชัยชนะ ซึ่งแม้ปมนี้จะไม่ยากต่อการคาดเดา แต่ต้องยอมรับจังหวะที่หนังฮุคใส่เรา โดยเฉพาะปมดราม่าระหว่าง แมคควีน กับ ด็อค ฮัดสัน ที่ซาบซึ้งมากโดยเฉพาะถ้าใครมีอาชีพเป็นครู คุณอาจเสียน้ำตาให้กับอนิเมชั่นเรื่องนี้ได้เลย
โดยเนื้อหาแล้ว CARS 3 อาจไม่ได้มีความแปลกใหม่ในการนำเสนอนัก แต่อย่างน้อยเรื่องราวของมันก็กลับมาอยู่ในลู่ทางที่ควรจะเป็นอีกครั้ง และเป็นบทพิสูจน์ได้ว่า พิกซาร์ ยังคงเชื่อมือได้แม้จะเปลี่ยนตัวผู้กำกับจากสองภาคแรก โดย จอห์น แลสเซสเตอร์
ส่งไม้ต่อให้มือใหม่อย่าง ไบรอัน ฟี มากำกับเป็นครั้งแรก และที่สำคัญคือหนังให้ข้อคิดที่ดีมากและรับกับกระแสโลกอย่างความเท่าเทียมทางเพศได้อย่างกลมกลืนและไม่ยัดเยียด จึงเป็นอีกงานที่คุ้มค่าตั๋วครับ
ความรู้สึกหลังดู
ระหว่างการแข่งขัน Piston Cup ครั้งล่าสุด ไลท์นิ่ง แม็คควีน (วิลสัน) เริ่มตระหนักว่าเขากำลังถูกผู้เล่นหน้าใหม่แซงหน้า ซึ่งรวมถึงแจ็กสัน สตอร์ม (ค้อน) ที่ฉูดฉาด หลังจากการชนที่เลวร้าย เขาต้องตัดสินใจว่าเขาจะเรียนรู้วิธีการแข่งขันในโลกที่เปลี่ยนแปลงไป หรือเกษียณเหมือนในรุ่นเดียวกันหลายๆ อย่างของเขา
แฟ รนไชส์ รถยนต์คือแกะดำ (หรือควรจะเป็นรถเก๋ง?) ในแคตตาล็อกของพิกซาร์ ซีรีส์เรื่องหนึ่งที่ดูเหมือนว่ากำไรจะอยู่เหนือศิลปะ ภาพยนตร์เรื่องแรกดำเนินไปอย่างราบรื่นพอควร แต่ถึงแม้จะมีทัศนียภาพที่สวยงามและการใส่ใจในรายละเอียดเครื่องหมายการค้า
แต่ก็ไม่ได้อวดถึงงานตัวละครที่เข้มงวดตามปกติ ซึ่งมักจะรู้สึกเหมือนเป็นผลจากหนึ่งในคู่แข่งที่ด้อยประสิทธิภาพของ Pixar และยิ่งพูดถึงสายลับสายลับที่ล้นหลามของภาคต่อที่จุดต่ำสุดของ Pixar น้อยลงเท่าไหร่ก็ยิ่งดีเท่านั้น ทั้งหมดนี้ทำให้ภาพยนตร์เรื่องที่สามมีระยะทางมากขึ้นในการเดินทางไปสู่ความน่านับถือ และมันก็ได้ผลอย่างน่าประหลาดใจในแนวหน้านั้น
ห่างไกลจากสายลับที่แผ่ขยายไปทั่วโลกของCars 2สิ่งนี้ทำให้เราได้หวนคืนสู่เรื่องราวส่วนตัวของนักแข่ง Lightning McQueen เกี่ยวกับความทะเยอทะยานและมรดก แน่นอนว่านี่เป็นทิศทางที่ถูกต้อง แม้ว่าภาพยนตร์เรื่องใหม่จะพยายามถ่ายทอดจิตวิญญาณของภาคแรกให้โจ่งแจ้งเกินไปก็ตาม
มีการเรียกกลับของตัวละครมากมายที่เราเคยพบมาก่อน เนื้อเรื่องมีที่ว่างเล็กน้อยในบางครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับนักแข่งรถในชีวิตจริงจำนวนมากที่ออกแบบมาเพื่อเล่นกับผู้ชมที่ชื่นชอบความเร็วโดยเฉพาะ เราจำเป็นต้องให้ลูอิส แฮมิลตัน แสดงระบบคอมพิวเตอร์ออนบอร์ดที่ชื่อว่า ‘แฮมิลตัน’ ด้วยขาดจินตนาการหรือไม่?
เราต้องการให้ลูอิส แฮมิลตัน พากย์เสียงคอมพิวเตอร์ออนบอร์ดจริง ๆ หรือไม่?
อย่างไรก็ตาม เราได้รับการต้อนรับจากการกลับมาของ Doc Hudson ของ Paul Newman โดยใช้ทางอ้อมที่สนุกสนานในประวัติศาสตร์ของเขาในฐานะนักแข่งรถ ซึ่งสอนบทเรียนชีวิตบางอย่างให้กับ Lightning แม้ว่าบทของเขาจะนำมาจากการบันทึกเสียงที่เดิมวางไว้สำหรับภาพยนตร์เรื่องแรก แต่ก็ทำให้เกิดความไม่แน่ใจทางจริยธรรมอีกครั้งเกี่ยวกับการฟื้นฟูนักแสดงที่เสียชีวิต แม้จะได้รับความยินยอมจากครอบครัวอย่างกระตือรือร้นก็ตาม
แต่Cars 3จะทำงานได้ดีที่สุดเมื่อเปลี่ยนโฟกัสเล็กน้อย McQueen ยังคงเป็นตัวละครสำคัญ แต่สิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามาใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ครูซ รามิเรซของคริสเตลา อลอนโซ่ได้รับการว่าจ้างให้ฝึก Lightning ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ที่ฉูดฉาดซึ่งเด็กๆ หวือหวาทั้งหมดใช้ — เพิ่มมูลค่า การปะทะกันของความขยันหมั่นเพียรและความมุ่งมั่นในสมัยก่อนกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้รับการขุดขึ้นมาอย่างดีจากเรื่องราวซึ่งมีการพลิกกลับที่สดชื่นสองสามอย่างท่ามกลางความซ้ำซากทั่วไปเกี่ยวกับความเชื่อในตนเองและการไว้วางใจในเพื่อนของคุณ
และมีความบันเทิงที่แน่นอนที่จะพบในขณะที่ทหารผ่านศึกล้อเล่นกลอุบายทุกรูปแบบเพื่อค้นหาอนาคตของเขาเช่นแข่งบนชายหาดมุ่งหน้ากลับบ้านที่เรดิเอเตอร์สปริงและที่น่าขบขันที่สุดก็คือบังเอิญเข้าไปในดาร์บี้รื้อซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อเอาชีวิตรอด การเผชิญหน้ากับรถโรงเรียนรั้นที่เปล่งออกมาโดยLea DeLaria แห่งOrange Is The New Black
แน่นอนว่า ทุกอย่างดูดีด้วยแอนิเมชั่นที่สวยงามโดยทั่วไปและมุขตลกเล็กๆ น้อยๆ ที่โปรยลงมาท่ามกลางลูกตั้งเตะ แต่ Pixar ให้ความสำคัญกับหัวใจและการประดิษฐ์อยู่เสมอ และยังขาดสิ่งเหล่านั้นเล็กน้อยสำหรับนิยายภาคใหม่นี้
โดยการขับรถกลับไปสู่ภูมิปัญญาดั้งเดิมของ Cars ภาพยนตร์เรื่องที่สามเป็นหลักสูตรที่ถูกต้องตั้งแต่ครั้งที่สอง แต่นี่ไม่ใช่พิกซาร์โบราณ
ชื่อภาพยนตร์: Cars 3 / สี่ล้อซิ่ง ชิงบัลลังก์แชมป์
ผู้กำกับภาพยนตร์: Brian Fee
ผู้เขียนบทภาพยนตร์: Brian Fee (original story by), Ben Queen (original story by)
นักแสดงนำ: Owen Wilson, Cristela Alonzo, Chris Cooper, Nathan Fillion, Larry the Cable Guy, Armie Hammer
แนว/ประเภท: Animation, Adventure, Comedy
ความยาว: 102 นาที
ประเทศ: สหรัฐอเมริกา
อัตราส่วนภาพ: 2.35 : 1
เรท: ไทย/ท , USA/G
วันเข้าฉายในประเทศไทย: 10 สิงหาคม 2560
ผู้ผลิต/ผู้จัดจำหน่าย/สตูดิโอ: Pixar Animation Studios, Walt Disney Pictures