รีวิว Cowboy Bebop: The Movie (2001)
ส่วนตัวอยากแนะนำให้หาแบบเป็นตอนทั้ง 26 ตอนมาดูก่อน อย่างน้อยเป็นการปรับรสนิยมตัวเองที่มีต่ออนิเมะเรื่องนี้ เพราะมีความตะวันตกค่อนข้างสูง อีกทั้งการเล่าเรื่องจะเนิบๆไม่รีบร้อนไปไหน หรือบางทีว่างเว้นตัดเป็นฉากถัดไปซะดื้อๆ แต่ละอย่างชวนให้สัมผัสถึงหนังคาวบอยที่ดูง่าย แต่แฝงอารมณ์ลุ่มลึกตลอดเวลา ฉะนั้นถ้าชอบจะไม่รู้สึกผิดหวังเลย
สไตล์ยังคงเดิมทุกอย่าง เล่าแบบหลวมๆแล้วแฝงปรัชญาทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจ บางตอนดูง่ายบางทีดูยาก แต่พอทำเป็นตอนยาวฉบับ Movie อาจต้องเตรียมพลังงานและพักผ่อนให้เพียงพอระดับหนึ่ง มิเช่นนั้นจะรู้สึกง่วงกับการคุยไปเดินไป กว่าจะเข้าโหมดแอ็คชั่นต้องรออยู่นาน กระนั้นไม่ทำให้ผิดหวังกับการรอดูฉากปะทะคนร้าย ซึ่งทั้งเดือดและคมกันมากๆ สำคัญอีกอย่างคือปรับความรุนแรงไปได้สุดกว่าอีกด้วย
พล็อตเรื่องเหมือนเดิมคือการตามล่าค่าหัวคนร้ายที่ถูกประกาศจับ แต่ครั้งนี้มีความยากตรงที่มีความเก่งเรื่องวางแผนและทักษะต่อสู้ ซึ่งที่แล้วมาใน 26 ตอนที่ดูมาจะมีจุดเด่นจุดด้อยของคนร้ายอยู่เสมอ ทำให้จัดการได้ไม่ยากเกินไป อีกทั้งคนในทีมจะต้องมีบางอย่างสอดคล้องกับตอนนั้นๆอยู่เสมอ โดยเฉพาะเรื่องอดีตที่มักเป็นปมผูกใจตลอดเวลา แต่เมื่อทุกอย่างได้ไขปริศนาและระบายมาหมดแล้วจะเล่าในทิศทางไหนต่อไป
มีความจืดอยู่บ้างเรื่องปม ทำให้คนที่ไม่เคยดูมาก่อนอาจไม่เต็มอิ่ม ตลอดทั้งเรื่องจะหนักไปทางปมของคนร้าย จึงไม่แปลกที่รู้สึกเสียดายกับความรู้สึกบางอย่างขาดหายไป แต่หากดูต่อเนื่องจะเข้าใจความเป็นทีมเวิร์คที่ภายนอกไม่สามัคคีไม่คุยกันก่อน กระนั้นคือการคัดจุดเด่นของแต่ละคนออกมา จากนั้นมาบรรจบกันราวกับนี่งานของฉัน ฉันต้องทำ ไม่ต้องบอกหรือวางแผนให้เยอะ
สไตล์การเล่าเรื่องไม่เข้าใครออกใคร จะสนุกก็ว่าสนุก จะว่าน่าเบื่อก็น่าเบื่อ สำหรับใครที่รู้สึกยาวนานขอแนะนำให้ลองแบ่งเป็น 4-5 ตอน ซึ่งจะได้ไม่รู้สึกอึดอัดอยากให้จบไวๆ แต่กับคนที่ชื่นชอบเป็นทุนเดิมอยู่แล้วไม่น่ามีปัญหา โดยเฉพาะช่วงหลังๆจะมาเหนือกว่าฉบับแบ่งเป็นตอนๆเสียอีก อย่างเช่นฉากขับยานไลล่าที่ปกติจะไม่ยืดยาว อยู่ไม่กี่นาทีก็จบแล้ว ขณที่ฉบับ Movie จะไล่ล่ากันยาวขึ้นและลุ้นกว่าเดิม รวมไปถึงฉากต่อสู้และอื่นๆที่ต้องการอธิบายว่าทำไมเล่านานกว่าทั้งที่ตัดเป็นตอนเพิ่มต่อจาก 26 ตอนก็ได้
Cowboy Bebop: The Movie เดิมมีเสน่ห์ฉบับคาวบอยที่น่าหลงใหล ไม่ได้เปลี่ยนหรือแตกต่างไปจากเดิม แต่เรื่องภาพมีความคมและลื่นไหลมากขึ้น น่าเสียดายที่ยังมีความคัลท์เป็นของตัวเอง ไม่ใช่ใครจะชอบเพียงเพราะแตกต่าง แต่รวมถึงตัวละครและวิถีต่างๆที่มีความเป็นผู้ใหญ่และจริงจัง ฉะนั้นไม่อยากให้มองเป็นการ์ตูนเท่ๆเรื่องหนึ่ง เพราะนี่คืออนิเมะที่มีจิตวิญญาณ
‘Cowboy Bebop’ คือแอนิเมชันซีรีส์ปี 1998 ที่เปิดศักราชใหม่ให้โลกได้รู้จักกับแอนิเมะไซไฟสุดล้ำจากญี่ปุ่นที่โดดเด่นทั้งงานดีไซน์คาแรกเตอร์ เรื่องราวสุดล้ำที่ผสมผสานปรัชญาอัตถิภาวะนิยม (existentialism) เข้ากับธีมเรื่องที่ได้รับแรงบันดาลใจทั้งจากหนังไซไฟ หนังคาวบอยและหนังฟิล์มนัวร์ ไปจนถึงธีมสกอร์อันโดดเด่นของโยโกะ คันโนะ (Yoko Kanno)
และถือเป็นแอนิเมะซีรีส์ระลอกแรกที่ตีตลาดต่างประเทศได้สำเร็จโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาได้สำเร็จและหนึ่งในผลงานที่ส่งผ่านแรงบันดาลใจให้กับหนังฮอลลีวูดอย่าง ‘The Matrix’ จนชินนิจิโระ วาตานาเบะ (Shinichirō Watanabe) เคยได้รับเชิญไปกำกับตอนหนึ่งใน ‘The Animatrix’ มาแล้วดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเมื่อเน็ตฟลิกซ์ บริการสตรีมมิงเจ้าดังจะเห็นโอกาสอันดีในการหยิบเพชรเม็ดงามมารีเมกฉบับไลฟ์แอ็กชันที่เราได้ดูกันอยู่ขณะนี้
รีวิว Cowboy Bebop: The Movie (2001)
เรื่องราวของ ‘Cowboy Bebop’ จะเป็นการตามติดชีวิตของนักล่าค่าหัวอวกาศประกอบด้วย สไปค์ สปีเกิล (รับบทโดย จอห์น โช John Cho) หนุ่มลูกเล่นแพรวพราวที่ถนัดทั้งอาวุธปืนและมีดบินแต่มีความลับดำมืดที่แม้แต่คู่หูของเขาก็ยังไม่รู้ เจ็ต แบล็ก (รับบทโดย มุสตาฟา ชาเคียร์ Mustafa Shakir) คู่หูร่างยักษ์ของสปีเกิล อดีตตำรวจที่เสียแขนจาก
การจับกุมผู้ร้ายจนหันมาเป็นนักล่าค่าหัวและ เฟย์ วาเลนไทน์ (รับบทโดยแดเนียลลา พีเนดา Daniella Pineda) นักล่าค่าหัวสาวที่สูญเสียความทรงจำ โดยพวกเขาต้องร่วมกันจับกุมนักโทษตามหมายจับเพื่อส่งทางการและรับเงินรางวัล
โปรเจกต์ ‘Cowboy Bebop’ ถูกพัฒนามาด้วยความระมัดระวังในหลายด้านทั้งประเด็นการฟอกขาว (White Washing) ที่เคยเกิดขึ้นกับโปรเจกต์รีเมกจากงานภาพยนตร์หรือแอนิเมะของเอเซียเลยจำเป็นต้องแคสต์นักแสดงเชื้อสายเอเซียอย่างจอห์น
โชมารับบทนำ ไปจนถึงกลัวคำกล่าวหาว่าเป็นการดัดแปลงโดยปราศจากจิตวิญญาณของบทประพันธ์ต้นฉบับจนถึงขั้นให้ชินนิจิโระ วาตานาเบะ ผู้กำกับแอนิเมะต้นฉบับและโยโกะ คันโน ผู้ประพันธ์เพลงต้นฉบับมาร่วมงานในตำแหน่งโปรดิวเซอร์ร่วมและคอมโพสเซอร์ของซีรีส์
และถ้ายังกลัวไม่เหมือนแอนิเมะซีรีส์ก็ยังคงไว้ซึ่งไตเติลเปิดเรื่องและองค์ประกอบหลายอย่างจากแอนิเมะทั้งเสื้อผ้าและทรงผมที่แม้ของสไปค์ สปีเกิลจะไม่ได้ออกเขียว ๆ เหมือนต้นฉบับแต่ก็คงความยุ่งบนหัวของจอห์น โช แต่ที่หนักสุดคือการที่มันถูกกำกับให้นักแสดงแสดงโอเวอร์แอ็กติ้ง
เหมือนแอนิเมะจนดูแปร่งปร่าพิกล แต่กระนั้นผลลัพธ์ของซีีรีส์ฉบับนี้ก็ยังคงห่างไกลจากซีรีส์ไลฟ์แอ็กชันที่จะเป็นความหวังให้ผู้ชมที่รอดูการรีเมกที่เข้าท่าอยู่ดี
ยกตัวอย่างประการแรกแม้ว่าอาจจะไม่ยุติธรรมนักแต่การคัดเลือกนักแสดงมีผลต่อสายตาคนดูจริง ๆ เริ่มที่่จอห์น โชที่แม้จะพยายามฟิตหุ่นและดูกระฉับกระเฉงแค่ไหนแต่ด้วยสังขารที่แม้จะยังไม่ถึงขั้นชราแต่พอต้องมารับบทสไปค์ สปีเกิลที่แอนิเมะพยายามปั้นให้ดูเป็นหนุ่มทะเล้นกวนโอ๊ยและเสน่ห์แพรวพราว
โชกลับไม่สามารถมอบสิ่งนั้นให้ผู้ชมได้เลยแต่กลับไปเน้นดราม่าและบุคลิกดูกวน ๆ แต่ไร้เสน่ห์ดึงดูดแทน มิหนำซ้ำเรายังต้องมานั่งลำใยกับบทรำพึงรำพันรักเก่าที่แทบไม่ทำให้เรื่องเดินหน้าสักเท่าไหร่อีกต่่างหาก
มิหนำซ้ำด้วยพล็อตเรื่องที่คราวนี้ดูงงมากที่ซีรีส์พยายามดึงดาวน์ลงเรื่อย ๆ และเน้นเรื่องรักในอดีตของสปีเกิลที่แม้ว่าใบหน้าของ เอเลนา ซาไทน์ (Elena Satine) ในบทจูเลีย คนรักเก่าของสปีเกิลจะสวยแค่ไหน แต่มันทำความสนุกหดหายไปเยอะมาก
แทนที่บทสปีเกิลจะส่งเสริมอาชีพแต่กลับดึงให้จอห์น โชเหมือนหนุ่มที่สวมเสื้อผ้าผิดไซซ์และฝืนแสดงให้ดูตลกแทนไปอย่างน่าเสียดาย ทั้งที่จริงจอห์น โชก็เริ่มจากนักแสดงสายตลกแต่พออยู่ใน ‘Cowboy Bebop’ ทุกอย่างดูผิดที่ผิดทางไปหมดได้ยังไงก็ไม่รู้นะครับ
อีกตัวละครที่แคสต์ได้ขัดใจคนดูสุด ๆ คือเฟย์ วาเลนไทน์ที่ในแอนิเมะดูเป็นสาวเซ็กซี่มากเพราะถูกดีไซน์มาให้อยู่ในชุดที่เน้นทรวงทรงพร้อมผมสีม่วงตัดสั้นอันเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งที่จริงการแคสต์แดเนียลลา พีเนดามาแสดงก็ไม่ใช่ตัวเลือกที่ผิดเพราะเธอก็ถือว่าเซ็กซี่และมีเสน่ห์แบบสาวละตินผิวขาวอยู่ เพียงแต่ผู้สร้างเลือกเติมแต่งเธอเยอะไปหน่อยทั้งลุคที่พยายามไม่เน้นเรื่องทรวดทรงจนชุดออกมาดูไม่เสริมส่งกับลุคของพีเนดานัก
ที่สำคัญคือทรงผมทำให้หน้าของเธอดูบวมมากกว่าจะออกแนวเซ็กซี่และแม้ในบางซีนจะมีชุดราตรีสีแดงแหวกอกที่ทำให้เธอดูดีอยู่บ้างบวกกับซีนเลสเบียนที่ไม่รู้ว่าซีรีส์จะใส่เข้ามาทำไม รวมถึงการเลือกแนะนำคนดูว่าเฟย์เป็นนักล่าค่าหัวแต่แรกยังเป็นการทำลายโอกาสที่เราจะได้เห็นพัฒนาการของตัวละครผิดกับแอนิเมะที่เธอเป็นเซียนไพ่และนักต้มตุ๋นมาก่อนและจับพลัดจับผลูมารวมทีมที่ทำให้เห็นมิติต่าง ๆ ในการเปลี่ยนแปลงของตัวละครที่ชวนให้หนุ่ม ๆ ตกหลุมรักเธอได้มากกว่าฉบับซีรีส์คนแสดงเสียอีก
ความรู้สึกหลังดู
คนที่ดูจะรอดตัวไปแบบใส ๆ กลับเป็นมุสตาฟา ชาเคัียร์ในบทเจ็ต แบล็กที่ซีรีส์ดูจะให้ความสำคัญกับตัวละครนี้มากกว่าในแอนิเมะอย่างเห็นได้ชัด ด้วยปริมาณดราม่าที่เน้นเรื่องครอบครัวที่ล้มเหลวกับความพยายามอยากจะเป็นพ่อที่ดีก็ยังพอทำให้ซีรีส์มีรสชาติดราม่าซึ้ง ๆ อยู่บ้างและที่สำคัญน่าจะเป็นตัวละครเดียวที่สามารถเอาตัวรอดจากความน่าเบื่อของแอ็กชันซ้ำ ๆ ได้แม้เมื่ออยู่รวมทีมกันครบ 3 คนแล้วเราจะยังไม่รู้สึกถึงความผูกพันและเคมีที่มีต่อกันเท่าไหร่ก็ตาม
อีกประเด็นที่ ‘Cowboy Bebop’ ฉบับนี้มาผิดทางมาก ๆ คือการเปลี่ยนโทนการเล่าเรื่องที่พยายามเหลือเกินที่จะยัดเยียดดราม่าครอบครัวเข้ามาตั้งแต่ระดับที่เราพอเล่าได้อย่างเฟย์ วาเลนไทน์กับดรามาเรื่องแม่ปลอมของเธอหรือไปถึงความลับในองค์กรซินดีเคทที่พยายามวางปมครอบครัวให้เริ่มและจบภายใน 15 นาทีจนงงว่าจะยัดเข้ามาทำไม ส่วนกรณีของเจ็ต แบล็กยังถือว่าพอจะชูรสชาติให้เรื่องราวได้บ้าง
แต่ในภาพรวมแล้วเรากลับเห็นแนวคิดการเล่าเรื่องที่ดูเฉิ่มเชยและเป็นสูตรสำเร็จของฮอลลีวูดในซีรีส์เรื่องนี้ จนงงว่าตอนดู ‘Cowboy Bebop’ ฉบับแอนิิเมะเขาไม่เห็นกันเหรอว่าการเล่าเรื่องมันล้ำแค่ไหนนอกจากเรื่องเทคโนโลยีที่มาก่อนกาลหรือการเอาปรัชญามาปนกับความเป็นไซไฟได้ลงตัวแล้วมันยังมีทั้งความตื่นเต้นจากฉากแอ็กชัน มีทั้งความตลกจากบุคลิกกวน ๆ ของสไปค์ สปีเกิล ไปจนถึงความเซ็กซีของเฟย์ วาเลนไทน์
จนเหมือนคนทำไปลอกการบ้านและเลือกองค์ประกอบต่าง ๆ มาแค่ชื่อตัวละครกับเหตุการณ์ในแอนิเมะแต่กลับยัดลงในพล็อตเรื่องเชย ๆ ดูทึม ๆ และพยายามยัดประเด็น LGBTQ+ มาเหมือนกลัวว่าซีรีส์จะดูเชยเกินเหตุ แต่ที่น่าเคืองที่สุดคือมันกลับเปลี่ยนการผจญภัยที่น่าตื่นตาตื่นใจสู่ซีรีส์ไซไฟคนคลั่งรักของสไปค์ สปีเกิลที่ซีรีส์ถึงขนาดอุทิศตอนที่ 9 ทั้งตอนเพื่อเล่าประเด็นความลับของสปีเกิลที่ไม่มีใครอยากรู้ได้น่าเบื่อมาก
และแม้ตอนนี้ยังเดาอนาคตไม่ได้แต่หากมีซีซัน 2 เชื่อว่าทีมผู้สร้างต้องทบทวนแนวทางการสร้างสรรค์แล้วล่ะว่าทำไมซีซันแรกถึงออกมาเป็นซีรีส์ชายวัยกลางคนคลั่งรักที่มีนักแสดงแต่งคอสเพลย์เป็นตัวละครจาก ‘Cowboy Bebop’ แบบนี้แทนที่จะเป็นซีรีส์คาวบอยอวกาศผจญภัยสุดมันต่อยอดจากฉบับแอนิเมะอย่างที่ตั้งใจไว้แต่แรก
อารมณ์เหมือนดูคาวบอยก็มิปาน โดยกลิ่นอายความเป็นตะวันตกนี่แรงมาก ทำเอาดูไม่ออกเลยว่าเป็นอนิเมะญี่ปุ่น แต่ชอบแบบนี้เลยแหละ มีเอกลักษณ์ของตัวเองค่อนข้างสูง มีความเอาใจคนดูน้อยมาก ใครจะชอบก็ชอบไปนะ ส่วนใครไม่ชอบคือไม่ชอบไปเลย แต่ร้อยทั้งร้อยถ้าเปิดใจจะหลงเสน่ห์และชอบทุกอย่างที่มีอยู่แน่นอน
สไตล์ยังคงเดิมทุกอย่าง เล่าแบบหลวมๆแล้วแฝงปรัชญาทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจ บางตอนดูง่ายบางทีดูยาก แต่พอทำเป็นตอนยาวฉบับ Movie อาจต้องเตรียมพลังงานและพักผ่อนให้เพียงพอระดับหนึ่ง มิเช่นนั้นจะรู้สึกง่วงกับการคุยไปเดินไป กว่าจะเข้าโหมดแอ็คชั่นต้องรออยู่นาน กระนั้นไม่ทำให้ผิดหวังกับการรอดูฉากปะทะคนร้าย ซึ่งทั้งเดือดและคมกันมากๆ สำคัญอีกอย่างคือปรับความรุนแรงไปได้สุดกว่าอีกด้วย
พล็อตเรื่องเหมือนเดิมคือการตามล่าค่าหัวคนร้ายที่ถูกประกาศจับ แต่ครั้งนี้มีความยากตรงที่มีความเก่งเรื่องวางแผนและทักษะต่อสู้ ซึ่งที่แล้วมาใน 26 ตอนที่ดูมาจะมีจุดเด่นจุดด้อยของคนร้ายอยู่เสมอ ทำให้จัดการได้ไม่ยากเกินไป อีกทั้งคนในทีมจะต้องมีบางอย่างสอดคล้องกับตอนนั้นๆอยู่เสมอ โดยเฉพาะเรื่องอดีตที่มักเป็นปมผูกใจตลอดเวลา แต่เมื่อทุกอย่างได้ไขปริศนาและระบายมาหมดแล้วจะเล่าในทิศทางไหนต่อไป
Cowboy Bebop คืออนิเมะแนว Sci-Fi ที่ผลิตโดยสตูดิโอ Sunrise และเริ่มออกฉายครั้งแรกในปี 1998-1999 ความยาวทั้งหมด 26 ตอน กำกับโดย ชินิจิโระ วาตานะเบะ ผู้เป็นหนึ่งในทีมผู้กำกับจากภาพยนตร์อนิเมะ Macross Plus (1995) พร้อมด้วย เคโกะ โนบุโมโตะ จาก Macross Plus มาร่วมเป็นหนึ่งในทีมเขียนบท รวมถึงได้ ยูโกะ คันนะ คอมโพสเซอร์มากฝีมือมารับหน้าที่ประพันธ์เพลงประกอบ
อนิเมะบอกเล่าเรื่องราวของโลกอนาคตในปี 2071 ของนักล่าค่าหัว 3 คนอย่าง Spike Spiegel, Jet Black และ Faye Valentine ที่รวมตัวกันเพื่อออกล่าอาชญากรตัวร้ายไปทั่วอวกาศด้วยยานอวกาศ Bebop เพื่อแลกกับค่าตอบแทนที่สมน้ำสมเนื้อ โดยมี Edward เด็กอัจฉริยะ และ Ein หมาคอร์กี้คอยติดสอยห้อยท้ายไปด้วย ขณะเดียวกันพวกเขาก็ต้องเผชิญกับเรื่องราวในอดีตของตัวเองที่คอยตามหลอกหลอนอยู่ตลอดเวลา