รีวิว drifting home บ้านล่องลอย

หนังอนิเมะ Netflix แนวแฟนตาซี ความยาว 2 ชั่วโมง มีพากย์ไทย เรื่องราวของแก๊งเด็กที่อาศัยอยู่บนอพาร์ตเมนต์ลึกลับที่ล่องลอยกลางทะเลปริศนา โดยที่พวกเด็กๆ ต้องพยายามหาทางเอาชีวิตรอดและกลับบ้านให้ได้  อนิเมะผู้หญิง

โคสุเกะกับนัตสึเมะ เพื่อนซี้ชั้นป. 6 เติบโตมาในอพาร์ตเมนต์เดียวกัน วันหนึ่งในช่วงหน้าร้อน ขณะที่กำลังเล่นกันอยู่ในอพาร์ตเมนต์ที่กำลังจะถูกทุบทิ้ง ทั้งคู่ต้องเจอกับเหตุการณ์ประหลาดเมื่อรอบๆ ตัวกลายเป็นทะเลอันกว้างใหญ่ไพศาลอันเป็นปริศนาว่าที่นี่คือที่ไหน แล้วโคสุเกะกับคนอื่นๆ จะกลับมาในโลกเดิมได้หรือไม่

อนิเมะเรื่องนี้มาจากค่าย Studio Colorido ที่สร้างชื่อจาก “Penguin Highway” ซึ่งได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Japan Academy Film Priz ครั้งที่ 42 ในสาขาภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม และผลงาน “เหมียวน้อยคอยรัก (A Whisker Away)” ผลงานที่ลง Netflix ไปในปี 2020 โดยยังเป็นเรื่องราวแฟนตาซีอิงความเชื่อญี่ปุ่นเป็นแบ็คกราวด์ซ่อนอยู่จางๆ เดินเรื่องโดยใช้ตัวละครเด็กประถมทั้งหมด แต่ก็มีความเป็นผู้ใหญ่เกินตัวอยู่ในเรื่องราวนี้ด้วยเช่นกัน  ดูอนิเมะ

รีวิว drifting home บ้านล่องลอย

ความแฟนตาซีของเรื่องนี้เกิดขึ้นโดยไม่ได้มีคำอธิบายแบบชัดเจนตั้งแต่ต้นจนจบ ดังนั้นตัวเรื่องจึงไม่ได้เป็นการผจญภัยเพื่อไขปริศนาว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร แม้ตัวละครในเรื่องจะพยายามหาคำตอบแต่ก็ไม่พบ มีเพียงแค่การกล่าวอ้างอิงแบบเป็นนัยๆ ถึงพวกความเชื่อของทางเอเชียเกี่ยวกับพวกวิญญาณหรือเทพที่สิงสถิตย์อยู่ในสิ่งต่างๆ เว็บดูอนิเมะ

เชื่อมโยงว่าอพาร์ตเมนต์มีบางสิ่งอยู่ที่ไม่ใช่ผี และก็ไม่ได้มีแต่ที่นี่เท่านั้นที่ลอยอยู่ในทะเลปริศนานี้เท่านั้น ซึ่งคนทางเอเชียคงพอดูแล้วเข้าใจอยู่บ้าง แต่ถ้าต้องการเฉลยในเรื่องนี้ไม่มีให้ และก็ดูเป็นจุดด้อยสำคัญของเรื่องนี้ด้วยเหมือนกันที่ทุกอย่างดูเหมือนถูกยัดใส่มาแบบไม่ได้คิดจะอธิบายอะไร แม้อาจจะดูไม่จำเป็นหรือไม่ทำให้งงก็ตาม

แต่อย่างน้อยก็น่าจะมีคำอธิบายอะไรมากกว่านี้ เพราะมันจะช่วยทำให้คนอินกับเรื่องราวได้มากกว่าที่เป็นอยู่  drifting home บ้านล่องลอย สปอย

การดำเนินเรื่อง

การดำเนินเรื่องเน้นไปที่ความผูกพันของเด็กสองคน โคสุเกะกับนัตสึเมะ ที่แยกจากกันแล้วกลับมาเจอกันผ่านการผจญภัยในบ้านล่องลอยนี้ โดยที่ตัวละครเด็กคนอื่นแทบเป็นตัวประกอบของเรื่องมากกว่า เพราะแทบไม่มีบทบาทสำคัญอะไรกับเรื่อง   ดูการ์ตูนอนิเมะ  ตัวเรื่องพยายามอย่างมากที่จะสร้างอารมณ์แนวความรักใสๆ แบบเด็กปากแข็งรักแต่กล้าพูดบอก

ออกมา ทำตัวเป็นคู่กัดกันตลอดเวลา ซึ่งทำให้ทั้งเรื่องมีแต่ฉากซึนกันไปซึนกันมาค่อนข้างน่าเบื่ออยู่พอสมควรถ้าเป็นผู้ใหญ่ดู ซึ่งคงสนใจด้านการผจญภัยเอาชีวิตรอดมากกว่า แต่ด้วยความที่เรื่องนี้เป็นเด็กประถมทั้งหมด ตัวเรื่องจึงไม่ถึงขนาดแนวเซอไววัลเอาชีวิตรอดอะไรได้มาก แต่ตัวบทก็พยายามให้ตัวละครเด็กนี้แสดงความเป็นผู้ใหญ่

พยายามหาทางหาอาหารที่ไม่ใช่แค่พยายามตกปลา แต่คือการผจญภัยข้ามไปยังบ้านอื่นๆ ที่ลอยสวนผ่านมาในเรื่องเพื่อหาอาหารมาประทังชีวิตเป็นหลัก แต่อย่างอื่นตัวเรื่องแทบไม่พูดถึงเลยว่าต้องมีอะไรบ้าง ซึ่งก็หยวนๆ เข้าใจได้เพราะมันไม่ใช่แนวเอาชีวิตรอดเต็มสูบแบบที่บอก  drifting home บ้านล่องลอย เนื้อเรื่อง

รีวิว drifting home บ้านล่องลอย

พล็อตเรื่อง

Drifting Home บ้านล่องลอย หรือชื่อในต้นฉบับภาษาญี่ปุ่นว่า 雨を告げる漂流団地 (อาคารห้องชุดลอยน้ำที่เรียกฝนให้ตกลงมา) เป็นภาพยนตร์อานิเมะออริจินัลเรื่องใหม่ล่าสุดของ Netflix สร้างสรรค์โดย Studio Colorido ผู้สร้าง Penguin Highway (2018), A Whisker Away (2020) และ Star Wars: Visions (2021) ตอน ‘Tatooine Rhapsody’ และกำกับโดย Hiroyasu Ishida ซึ่งเคยกำกับ Penguin Highway มาก่อน  ดูการ์ตูนอนิเมะ

เนื้อเรื่องเริ่มขึ้นด้วยการปูพื้นความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ตัวเอก โคสุเกะ (พากย์เสียงโดย Mutsumi Tamura) และ นัตสึเมะ (พากย์เสียงโดย Asami Seto) ว่าเมื่อก่อนสนิทกันมาก แต่หลังจากคุณปู่ของโคสุเกะซึ่งทั้งคู่เคารพรักมากเสียไป ประกอบกับครอบครัวของทั้ง 2 คนได้ย้ายออกจากอาคารห้องชุดคาโมโนมิยะหมายเลข 112 ที่กำลังจะโดนทุบทิ้ง ทำให้ต่างคนต่างค่อยๆ ห่างเหินกันไป แต่แล้ววันหนึ่ง เมื่อโคสุเกะและนัตสึเมะกลับมายังอาคารห้องชุดดังกล่าวพร้อมกับเพื่อนอีก 4 คน จู่ๆ ก็มีฝนตกลงมาห่าใหญ่

และพอรู้สึกตัวอีกที ตึกห้องชุดทั้งหลังก็ไปลอยเท้งเต้งกลางทะเลที่ไหนไม่รู้ แถมยังมีเด็กปริศนาชื่อ นปโปะ (พากย์เสียงโดย Ayumu Murase) ผู้อ้างว่าอยู่กับอาคารห้องชุดหลังนี้มานานแล้ว โผล่มาร่วมวงด้วย  drifting home บ้านล่องลอย เรื่องย่อ

รีวิว drifting home บ้านล่องลอย

รีวิว drifting home บ้านล่องลอย บทสรุป

ชื่อ ‘Drifting Home’ สื่อความตรงตัวถึงอาคารห้องชุดซึ่งเคยเป็น ‘บ้าน’ (home) ของโคสุเกะและนัตสึเมะกำลัง ‘ลอย’ (drift) บนผืนน้ำ ทั้งนี้ในภาษาอังกฤษมีสำนวน ‘drift away/apart’ ซึ่งหมายถึงการที่คนเคยสนิทกันค่อยๆ ห่างเหินกันไปตามกาลเวลา คล้ายเรือที่ลอยห่างออกจากฝั่งทุกทีๆ ดังนั้นเมื่อพิจารณาชื่อเรื่องโดยอาศัยความหมาย

ของสำนวนนี้ประกอบกับบริบทของเรื่อง ก็สามารถตีความได้ว่า ไม่ใช่แค่เด็กน้อยตัวเอกทั้ง 2 คนเท่านั้นที่กำลังเหินห่างจากกัน ทว่าสถานที่อันเคยเป็น ‘บ้าน’ ของทั้งคู่ ซึ่งย่อมพ่วงมาด้วยความทรงจำและความผูกพันมากมาย ก็เหมือนกำลัง ‘ล่องลอย’ ออกไปจากชีวิตของพวกตน เพราะตัวตึกจะต้องโดนทุบทิ้งในไม่ช้า เรียกได้ว่าเป็นการตั้งชื่อภาษาอังกฤษที่แฝงนัยอย่างเฉียบแหลม

ช่วงเปิดเรื่องราว 15 นาทีแรก ประกอบกับภาพโปสเตอร์แนะนำหนังสีสันสดใส อาจทำให้บางคนเข้าใจว่ากำลังจะได้รับชมหนังอานิเมะสนุกๆ เกี่ยวกับกลุ่มเด็กน้อยผจญภัยในต่างโลก (Isekai) เพื่อหาทางกลับบ้าน ระหว่างทางก็ได้เรียนรู้ความสำคัญของพลังมิตรภาพพร้อมกับได้เติบโตขึ้นทางความคิดจิตใจ ประมาณว่า Digimon หรืออะไรทำนองนั้น… ถ้าคุณเองก็กำลังคิดแบบนี้ ขอให้รู้ว่าคิดถูกแล้ว แต่แค่ 10% เท่านั้น

จริงอยู่ พล็อตเรื่องคือการผจญภัยในโลกแฟนตาซีเพื่อหาทางกลับสู่โลกเดิม แต่ตัวละครที่ต้องมาดำเนินเรื่องตามพล็อตนี้คือเด็ก ป.6 ธรรมดาๆ ไม่ได้มีสกิลพิเศษหรือของวิเศษติดตัวทั้งก่อนและหลังข้ามมาต่างโลก แถมยังไม่ได้ฉลาดและสุขุมเกินวัยแบบเจ้าอาโอยามะใน Penguin Highway ทว่าเป็นเด็ก ป.6 ที่มีนิสัย จิตใจ และความคิดอ่านสมวัย

11 – 12 ปีจริงๆ ทั้งซุกซน ดื้อรั้น เอาแต่ใจ พอตกใจกลัวก็ทำอะไรไม่ถูก ถึงจะรักเพื่อน แต่ก็แคร์เฉพาะคนที่นับว่าเป็นพวกพ้อง ถ้าไม่ใช่ จะเป็นตายร้ายดีอย่างไรก็ไม่สน กระทั่งตัวละครเอกอย่างโคสุเกะและนัตสึเมะก็มักแสดงนิสัยเสียแบบเด็กๆ ออกมาบ่อยๆ    drifting home บ้านล่องลอย บทสรุป

เหนืออื่นใด นิสัยเสียของเด็กๆ เหล่านี้จะมีให้เห็นไปตลอดทั้งเรื่อง แต่จะเห็นน้อยลงเพราะตัวหนังคอยหาโมเมนต์ให้ตัวละครได้แสดงด้านที่ (น่าจะ) ทำให้ผู้ชมยอมรับมากขึ้น แต่ถึงอย่างนั้นในกลุ่มตัวเอกก็มีบางตัวที่จนแล้วจนรอดมีบทบาทน้อยจนแทบตัดออกได้โดยไม่ส่งผลกระทบกับเนื้อเรื่อง และว่ากันตามตรง ตัวละครทุกตัวในเรื่องนี้ไม่มี

พัฒนาการ เพราะภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ใช่แนว Coming-of-age แต่มันเป็นดราม่าในคราบแฟนตาซีที่กดดันให้ตัวละครเรียนรู้และยอมรับความจริงบางอย่างให้ได้ เพื่อที่จะสามารถ ‘มูฟออน’ ต่อไป

รีวิว drifting home บ้านล่องลอย

โดยรวมหนัง

นอกจากนี้ยังมีตัวละครปริศนาที่มาในรูปร่างของเด็ก แต่ก็มีความพิเศษบางอย่างติดตัว และก็เกี่ยวพันกับเหตุการณ์นี้โดยตรง และพยายามบิ้วให้เรื่องราวดราม่าผ่านการไขปริศนาว่าเขาคนนี้คือใคร แต่ด้วยความที่ตัวเรื่องแทบไม่มีคำอธิบายอะไรออกมาชัดเจนด้วย ก็เลยเหมือนคำตอบที่เปิดกว้างให้ผู้ชมจินตนาการกันเองในระดับหนึ่งมากกว่าครับ

งานภาพอนิเมชั่นของเรื่องถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดีแบบฉายโรงได้เลย (แต่ความละเอียดเป็นแค่ HD ไม่ใช่ 4K) ซึ่งตัวสตูดิโอนี้ก็มีชื่อเสียงเรื่องคุณภาพตรงนี้อยู่แล้ว แต่เสียตรงที่ว่าฉากต่างๆ ในเรื่องไม่ได้มีอะไรที่สวยมาก ไม่เหมือนอย่างเรื่องบับเบิ้ลที่น้ำท่วมโตเกี่ยวเหมือนกันแต่ทำออกมาได้งดงามมาก เรื่องนี้ทั้งเรื่องคือทะเลเวิ้งว้างกับบ้านผุพังทั้งนั้น จึงไม่ได้มีฉากโชว์อะไรสวยๆ เลย มีแค่ตอนก่อนจบนิดเดียวที่ดดูสวยดีเท่านั้นกับฉากบ้านที่บินเหนือท้องฟ้าได้ จากที่ต้องลอยในทะเลทั้งเรื่อง drifting home บ้านล่องลอย สนุกไหม

โดยสรุปเป็นอนิเมะที่เดินเรื่องแบบแฟนตาซีหลุดโลกมากๆ โดยไม่มีคำอธิบายอะไร ซึ่งก็อาจจะเป็นปกติกับงานญี่ปุ่นสำหรับคนดูที่ชินกับอะไรแบบนี้ก็คงไม่คิดมาก แต่ถ้าคนดูสายที่ต้องการคำตอบของความแฟนตาซีในเรื่องก็คงไม่ชอบเท่าไหร่

ติดตามรีวิวหนังเรื่องอื่นๆได้ที่     การ์ตูน ดิสนีย์ netflix

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *