รีวิว Ghost in the Shell 2

เหตุการณ์เกิดขึ้นหลังจากภาคแรก 3 ปี เมื่อมีวิศวกรคนหนึ่งพยายามทำการ Ghost-dubbing อธิบายง่ายๆคือการโคลน/ก็อปปี้ จิตวิญญาณของมนุษย์ใส่ลงในหุ่นยนต์ Cyborg ให้กลายเป็นสิ่งมีชีวิต แต่แล้วเรื่องวุ่นๆก็เกิดขึ้น, เรื่องราวของภาคนี้มีความซับซ้อนอย่างยิ่ง มีการใส่คำพูดปรัชญา (ราวกับหนังของ Jean-Luc Godard) แฝงแนวคิดของผู้กำกับ และงานภาพสามมิติสวยงามเกินคำบรรยาย

ก่อนจะรับชมภาคนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต้องดู Ghost in the Shell (1995) มาแล้วเท่านั้นนะครับ เพราะจะได้มีความเข้าใจต่อเนื่องจากเรื่องราวเก่า แต่ไม่จำเป็นต้องรับชมซีรีย์ Stand Alone Complex (2002-2004) เพราะถือว่าเป็นคนละจักรวาลกัน, เช่นกันกับถ้าคุณเคยรับชมซีรีย์มาแล้ว ให้ไปเริ่มที่ภาพยนตร์ Ghost in the Shell (1995) ก่อนนะครับ

ตอนจบของ Ghost in the Shell เมื่อ Major Motoko Kusanagi ได้กลายเป็นพระเจ้าในโลกอินเตอร์เน็ตแล้ว แต่เธอหาได้ทอดทิ้งหน่วย 9 โดยเฉพาะ Batou ยังคง(แอบ)ให้การช่วยเหลืออยู่เรื่อยๆ เพราะเธอสามารถเดินทางไปที่ไหนก็ได้ เมื่อไหร่ก็ได้ ทุกสถานที่บนโลก(ที่มีอินเตอร์เน็ต)

สำหรับคดีใหม่นี้ Batou จำต้องจับคู่กับ Togusa (ชายคนเดียวในหน่วย 9 ที่ไม่มีร่างกายเป็นหุ่น) เพื่อไขปริศนาการฆาตกรรมที่เกิดขึ้นโดยหุ่น gynoids ว่าเกิดจากอุบัติเหตุความผิดพลาดทางเทคนิค (malfunction) หรือมีอะไรที่เป็นเบื้องหลังมากกว่านั้น

รีวิวอนิเมะ

กฎ 3 ข้อของหุ่นยนต์ (The Three Laws of Robotics) ตั้งขึ้นโดย ไอแซค อสิมอฟ (Isaac Asimov) นักเขียนนวนิยายวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันเชื้อสายรัสเซีย นิยามกฎของหุ่นยนต์ไว้ตั้งแต่ปี 1940 จากจินตนาการอนาคตและพฤติกรรมของหุ่นยนต์ที่ควรจะเป็นเพื่อให้สามารถอยู่กับมนุษย์ได้อย่างสงบสุข โดยกฎเหล่านี้ ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับหุ่นยนต์ในชีวิตจริงแต่อย่างใด

กฎข้อที่หนึ่ง: A robot may not harm a human being, or, through inaction, allow a human being to come to harm.
หุ่นยนต์จะต้องไม่ทำอันตรายแก่มนุษย์ หรือนิ่งเฉยปล่อยให้มนุษย์ตกอยู่ในอันตรายได้

กฎข้อที่สอง: A robot must obey the orders given to it by human beings, except where such orders would conflict with the First Law.
หุ่นยนต์จะต้องเชื่อฟังคำสั่งของมนุษย์ ยกเว้นคำสั่งนั้นจะขัดแย้งกับกฎข้อที่หนึ่ง

กฎข้อที่สาม: A robot must protect its own existence, as long as such protection does not conflict with the First or Second Law.
หุ่นยนต์จะต้องปกป้องตัวเองด้วยวิธีการใด ๆ ตราบเท่าที่วิธีการนั้นไม่ละเมิดกฎข้อที่หนึ่งและกฎข้อที่สอง

ผมยกกฎของหุ่นยนต์ทั้งสามข้อขึ้นมา เพราะอนิเมชั่นเรื่องนี้มีการกล่าวถึงด้วยนะครับ และเหตุการณ์ฆาตกรรมที่เกิดขึ้น มาจากเหตุการณ์สมมติที่หุ่นยนต์ได้กระทำผิดกฎเหล็กข้อ 1 มันจะเป็นไปได้ยังไง! นี่คือประเด็นที่ Innocence ต้องการค้นหาคำตอบ

ผู้กำกับ Mamoru Oshii ไม่เคยมีแผนที่จะสร้างภาคต่อ Ghost in the Shell ตอนภาคแรกเสร็จพักงานไป 5 ปี ซุ่มพัฒนาผลงานภาพยนตร์คนแสดงเรื่อง Avalon (2001) แต่เพราะเสียงเรียกร้องจากแฟนๆจึงตัดสินใจสร้างภาคต่อ โดยต้องการสร้างความท้าทายในเรื่อง Technical Challenge นำเสนอในสิ่งที่ยิ่งใหญ่อลังการกว่าเดิม แต่งบประมาณต้องมากมายมหาศาลแน่ๆ Oshii จึงไปชักชวน Toshio Suzuki โปรดิวเซอร์ของสตูดิโอ Ghibli เพื่อจะสามารถขอทุนเพิ่มได้เยอะขึ้น สุดท้ายได้เงินมา $20 ล้านเหรียญ (ประมาณ 2 พันล้านเยน)

เรื่องราวดัดแปลงแบบคร่าวๆ มาจากมังงะ Kōkaku Kidōtai/Ghost in the Shell ของ Masamune Shirow เล่มแรกในตอนที่ 6 ชื่อ Robot Rondo และบางส่วนของตอน 7 ชื่อ Phantom Fund แต่เพราะทั้งสองตอนความยาวไม่มาก Oshii จึงได้เพิ่มเติมสิ่งต่างๆมากมายลงไป อาทิ แนวคิด ทัศนคติ ปรัชญาชีวิตของตนเอง ผสมคลุกเคล้ากับเรื่องราว เหมือนดั่งที่ Jean-Luc Godard ในยุครุ่งเรืองของ French New Wave ได้ทำการอ้างอิง Quote คำพูดดังๆ จากวรรณกรรม/ผู้มีชื่อเสียง และใส่ความเป็นตัวเองลงไปในหนังของเขา ถือว่าได้สร้างมิติใหม่ให้กับวงการภาพยนตร์ยุคสมัยนั้น

รีวิว Ghost in the Shell 2

บริษัท Locus Solus ได้ทำในสิ่งที่เรียกว่า Ghost-dubbing พยายามที่จะสร้างเลียนแบบจิตวิญญาณของมนุษย์ โดยใช้ Ghost ของเด็กผู้หญิงเป็นแบบ (ที่ต้องใช้ของเด็ก เพราะมีข้อมูล/ความซับซ้อน น้อยกว่าของผู้ใหญ่)

นำใส่ลงในหุ่นยนต์เพื่อให้มีชีวิตกลายเป็นเหมือนมนุษย์, แนวคิดนี้คือการสร้าง ‘มนุษย์’ ที่ผิดต่อหลักธรรมชาติโดยสิ้นเชิง ผลลัพท์แน่นอนว่าไม่สัมฤทธิ์ผลเท่าไหร่ เพราะเด็กหญิงคนหนึ่งไม่ยินยอมพร้อมใจ ทำให้หุ่นมีพฤติกรรมที่แปลกประหลาด

และความต้องการเอาตัวรอดของเธอ Ghost ได้สั่งให้ Shell ฆ่าผู้บริสุทธิ์ที่ไม่เกี่ยวข้องอะไรด้วย (เพื่อเรียกร้องให้ใครสักคนสนใจสิ่งที่เกิดขึ้น)

เกร็ด: คำว่า Locus Solus (=solitary place, สถานที่โดดเดี่ยวอ้างว้าง) เป็นชื่อนิยายภาษาฝรั่งเศส เขียนโดย Raymond Rousse เมื่อปี 1914

เราสามารถมองพฤติกรรมของเด็กหญิงนี้ว่าเป็น Innocent ตามสร้อยต่อท้ายชื่อหนัง เพราะความไม่รู้เดียงสาที่จะทำอย่างไรเพื่อหลบหนีเอาตัวรอด จึงร้องเรียกความช่วยเหลือจากผู้อื่นภายนอก โดยไม่สนวิธีการและความถูกผิดในด้านจริงธรรมสังคม

แต่ไม่ใช่แค่เด็กหญิงเท่านั้นที่ Innocent ทุกๆตัวละครก็มีความโง่ไร้เดียงสาในตัวเอง
– Batou เลี้ยงหมาพันธุ์ Basset Hound ที่แสนจะไร้เดียงสา (ไม่คิดว่าพี่แกจะมีมุมนี้ด้วย) Gabriel ที่เหมือนเป็นตัวแทนของ Kusanagi ในความโหยหาและเป็นความอ่อนไหวหนึ่งเดียวในใจ, ฉากหนึ่งในร้านขายอาหาร Batou เกือบฆ่าเจ้าของร้าน แต่เพราะสมองเขาถูก Hack จึงมีสถานะเป็นผู้บริสุทธิ์
– Togusa นี่ชัดเลยประสบการณ์อ่อนต่อโลกมาก ไปหามามาเฟียตั้งใจว่าจะพูดคุยกันธรรมดาแต่กลับ…
– Ms. Haraday วิศวกรของ Locus Solus สิ่งที่เธอทำเพราะคิดว่าจะสามารถสร้างหุ่นยนต์ที่มีความสมบูรณ์แบบได้ แต่กลับมีทัศนะมองเด็กเป็นเหมือนตุ๊กตาของเล่น การกระทำของเธอมันช่างเหมือนเด็กไร้เดียงสาเสียจริง

รวมๆในหลายบริบทแล้ว คำว่า Innocent สามารถมองได้ถึงมนุษย์ทุกคน ที่ต่างก็มีความไร้เดียงสาต่อโลกใบนี้ในมุมที่แตกต่างออกไป

งานภาพอนิเมชั่นของภาคนี้ต้องบอกว่า Breathtaking จริงๆ โดยเฉพาะคาราวานช้างล่องเรือ ที่ใช้การออกแบบภาพสามมิติ จัดแสงสีได้อย่างสวยงามอลังการ เหลืองทองอร่าม สะท้อนแสงเป็นประกายระยิบระยับ และสิ่งที่เหมือนทองคำเปลวปลิวว่อนเป็นสะเก็ดไปทั่วภาพ, เห็นว่าใช้เวลา 1 ปีเต็มกับการสร้าง CG ฉากพาเรดนี้ (ได้อิทธิพลจากประเพณีจริงๆของชาว Taiwan)

รีวิวอนิเมะออนไลน์

รีวิว Ghost in the Shell 2

ความรู้สึกหลังดู

กว่า Ghost in the Shell 2: Innocence จะมาถึง ก่อนหน้านั้น หลายคนคงได้ชม ‘Ghost in the Shell: Stand Alone Complex’ ภาพยนตร์ชุดทางทีวีไปก่อนแล้ว สิ่งที่ไม่แตกต่างกัน คือ ช่วงเปิดเรื่องที่ขึ้นเครดิตทีมงาน เป็นภาพของกำเนิดหุ่นที่มีเพลงประกอบอันโดดเด่นเป็นพื้นหลัง แตกต่างกันอยู่บ้างตรงที่ภาคแรกเน้นภาพวาด 2 มิติ ขณะที่ Innocence ใช้ภาพ 3 มิติเป็นหลัก…

คงด้วยเพราะเทคโนโลยีการสร้างที่สูงขึ้นนั่นเอง

ในแง่ของงานโปรดักชั่น Innocence คือภาคต่อที่พัฒนาไปอีกขั้นในด้านเทคนิค มีการนำคอมพิวเตอร์กราฟิกมาใส่อย่างเต็มๆ ด้วยการจัดแสงเรืองๆ ทำให้ภาพสวยงามหมดจด ฉากของงานฉลองอะไรสักอย่างนั่น คือฉากอันโดดเด่นสวยงามที่สุดในภาคนี้ แต่ใช่ว่า ความโดดเด่นจะหยุดอยู่เพียงเท่านั้น ลูกล่อลูกชนในการเล่าเรื่องก็โดดเด่นไม่แพ้กัน การเล่าด้วยภาพฉากเดินต่างเหตุการณ์ ทำให้ผู้ชมต้องนั่งสำรวจตัวเองไม่น้อย เหมือนเรากำลังถูกควบคุมด้วยประสบการณ์เสมือนไปพร้อมๆ กับตัวละคร

นอกจากงานด้านภาพแล้ว ในเรื่องของแนวคิดบางส่วนก็ดูจะแตกต่างกัน จุดที่เห็นได้ชัดก็คงจะเห็นรถยนต์ที่ใช้กันในภาคนี้ มีหน้าตาเหมือนรถยุคโบราณที่มันมันเลื่อมสะท้อนแสงไฟในยามค่ำคืน ภาพดูสวยงามด้วยผลผลิตของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กราฟิก

ดูอนิเมะออนไลน์

รีวิว Ghost in the Shell 2

หลังจากภาคแรกตั้งคำถามถึงขอบเขตความหมายของชีวิต ที่โลกดำเนินไปจนถึงระดับที่แทบแยกความต่างระหว่างมนุษย์และจักรกลไม่ได้ ภาคนี้หันไปถามหาความแตกต่างระหว่างสัตว์เลี้ยงกับหุ่น

เมื่อมนุษย์ไม่พอใจหุ่นตัวเก่า ก็พร้อมจะทิ้งและหันไปหาหุ่นตัวใหม่มาทดแทน โดยละเลยที่จะใส่ใจว่าหุ่นจะรู้สึกเช่นไร ก็เหมือนกับสัตว์เลี้ยงหลายตัวที่ถูกทิ้งอย่างไม่ใยดีเมื่อเจ้าของเบื่อมันนั่นเอง

เมื่อเกิดเหตุหุ่นฆ่าเจ้าของและตำรวจ คู่หูคู่ใหม่อย่างบาโตะและโทงุสะจึงต้องมารับหน้าที่สืบคดีนี้ ไม่พอเจ้าหน้าที่ตรวจสอบสินค้าของผู้ผลิตหุ่นรายใหญ่ก็มาถูกฆาตรกรรมอีก แต่เรื่องฆ่ากันตายดูจะไม่สำคัญเท่ากับปมที่ว่าในย่อหน้าที่แล้ว หมอฮาราเวย์ที่ทั้งสองคนไปทั้งสืบสวนและขอคำปรึกษา เอ่ยถึงการแง่มุมของการมีหุ่นรับใช้ไว้ในครอบครอง เธอบอกว่า แท้จริงเด็กเล่นตุ๊กตาเพราะต้องการหุ่นสักตัวเท่านั้น จะว่าไปแล้ว นี่คงเป็นมุมมองของการมี “บางสิ่ง” ไว้ครอบครองที่ดูหนักอึ้งต่อการรับชม

หมอฮาราเวย์บอกว่า การเลี้ยงดูเด็กก็เป็นอีกวิธีที่จะตอบสนองความใฝ่ฝันของมนุษย์เกี่ยวกับชีวิตประดิษฐ์ แม้ว่าโทงุสะจะไม่เห็นด้วยเพราะรู้สึกว่าเด็กมิใช่ตุ๊กตา ส่วนบาโตะเองก็มีสัตว์เลี้ยงของตน แถมเป็นหมาโคลนอีกต่างหาก ทั้งที่หมาจริงๆ ก็มี แต่บาโตะเลือกจะเลี้ยงตัวที่เป็นโคลน โดยให้เหตุผลด้วยว่ามันเป็นรุ่นแรก ซึ่งมันดูไม่ต่างจากเด็กที่อยากเล็กตุ๊กตาเท่าใดนักรีวิว Ghost in the Shell 2

 

เรื่องราวที่ดูหนักอึ้งในหัวยามรับชมเหล่านี้ ยังคงมีให้เห็นในแง่มุมอื่นๆ ในภาคภาพยนตร์ชุดทางทีวี ซึ่งเรียกได้ว่า ทำให้มันมีจุดโดดเด่นที่ส่งเสริมให้ Ghost in the Shell เป็นแอนิเมะที่ลือลั่นและได้รับการกล่าวขวัญถึงอย่างไม่มีหยุดหย่อน

นี่คือแอนิเมะอีกเรื่องที่ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวงครับ ผมรับประกันได้เลย…

ปล. ในกรณีต้องการนำรูปไปใช้ กรุณา save ไปใช้ได้เลยนะครับ อย่าแค่ drag แล้ว copy ไปแปะ มักง่ายครับ แบบนั้น

รีวิวการ์ตูนอนิเมะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *