รีวิว Loving Vincent ภาพสุดท้ายของแวนโก๊ะ

ความโดดเด่นของอนิเมชั่นเรื่องนี้คือการใช้ภาพวาดสีน้ำมันตลอดทั้งเรื่อง ซึ่งเป็นเทคนิคเดียวกันกับวินเซนต์ แวนโก๊ะ ในการวาดภาพ รู้สึกว่าช่วงนี้ อยากดูหนังที่แตกต่างออกไปบ้าง อยากพาตัวเองไปสัมผัสกับหนังที่มีความพิเศษ มีความน่าสนใจ ชีวิตของ อาร์มาน (ดักลาส บูธ) ลูกชายนักเลงหัวไม้ของบุรุษไปรษณีย์กำลังจะเปลี่ยนไปจากภารกิจส่งจดหมายฉบับสุดท้ายของวินเซนต์ ฟาน กอห์ก

ทำให้คนดูเหมือนซึบซับเข้าไปในโลกภาพวาดของแวนโก๊ะ เหมือนว่าเรากำลังดำดิ่งเข้าไปในหัวของศิลปินที่รังสรรค์โลกออกมาเป็นรูปร่างหน้าตาแบบนี้ ซึ่งทั้งสวยงาม พริ้วไหว มีเสน่ห์ จนการดื่มด่ำอยู่ในโลกใบนี้ของแวนโก๊ะ จึงทั้งน่าตื่นตาตื่นใจ และมหัศจรรย์มาก มีอะไรสักอย่างที่ชักชวนให้รู้สึกว่าควรจะต้องได้เสพสักครั้งในชีวิต โดยเฉพาะในโรงภาพยนตร์ บางผลงานไม่น่าเชื่อว่าจะได้เข้ามาฉาย ‘Loving Vincent’ จึงได้สิทธินั้นไป

รีวิวอนิเมะรีวิว Loving Vincent ภาพสุดท้ายของแวนโก๊ะ

เจ้าตัวจำใจรับปากผู้เป็นพ่อที่ทำให้เขาต้องเดินทางสู่เมืองอาร์เลส์ (Arles) ที่ซึ่งเขาพบเงื่อนงำเบื้องหลังการตายของวินเซนต์จากผู้คนมากมายทั้ง หลุยส์ (เฮเลน แมคครอรี) แม่บ้านที่มองวินเซนต์ไม่ต่างจากปีศาจร้าย, เอดาไลน์ ราวูซ์ (อีเลนอ ทอมลินสัน)

ลูกสาวเจ้าของโรงแรมที่ชื่นชมอัจฉริยะของวินเซนต์, มาเกอเรต กาเชต์ (เซียร์ชา โรแนน) ลูกสาวนายแพทย์ที่รักษาอาการของวินเซนต์ แต่บางทีคำตอบสุดท้ายที่จะไขปริศนาการตายคงหนีไม่พ้นปากคำของคุณหมอกาเชต์ (เจอโรม ฟลินน์) คุณหมอที่รักษาอาการของวินเซนต์และอยู่กับเขาจนวาระสุดท้าย

โดยตัวเรื่องเป็นการบอกเล่าช่วงเวลา 12 เดือนหลังจากแวนโก๊ะได้ตายไปแล้ว Armand Roulin (Douglas Booth) ได้นำจดหมายที่ผู้เป็นพ่อให้นำมาส่งให้ ธีโอ น้องชายของวินเซนต์ ผ่านการเล่าเรื่องแบบสืบสวนสอบสวนถึงเหตุการณ์ฆ่าตัวตายของวินเซนต์

รีวิว Loving Vincent ภาพสุดท้ายของแวนโก๊ะ

ด้วยภาพสีสันและตัดสลับแฟลชแบ็กสีขาวดำในช่วงเวลาก่อนตาย 1 เดือนของแวนโก๊ะ หนังจะพาเราค่อยๆเข้าไปถึงชีวิตก่อนตายของแวนโก๊ะที่สุดแสนน่าเศร้าและรันทดใจ ที่ไม่เคยได้รับการยอมรับใดๆในช่วงชีวิตของเขา

นี่เป็นหนังที่ทำให้เห็นถึงชีวิตแสนธรรมดาของชายคนหนึ่งที่พยายามค้นหาที่ทางกับโลกใบนี้ ก่อนที่จะกลายมาเป็นตำนานของศิลปินผู้มาก่อนกาลเวลา

หนังไม่เพียงทำให้เห็นความรักต่อแวนโก๊ะของโปรดักชั่นงานสร้าง แต่ทุกภาคส่วนของหนังก็ทำให้เห็นถึงการเคารพ มันจึงเป็นหนังที่สวยงาม และเป็นหนังเศร้าสร้อยถึงการตัดสินใจอันน่าหดหู่ของเขา แต่ก็ยังเป็นการเข้าอกเข้าใจศิลปินผู้ต้องทนทุกข์กับโรคซึมเศร้า

ถึงแม้ Loving Vincent จะมีความโดดเด่นในงานภาพมากกว่าเนื้อหา แต่การได้ดื่มด่ำเข้าไปในงานภาพของแวนโก๊ะ ก็คุ้มค่าและมหัศจรรย์เแล้ว

รีวิว Loving Vincent ภาพสุดท้ายของแวนโก๊ะ

รีวิว Loving Vincent ภาพสุดท้ายของแวนโก๊ะ

ชีวิตของวินเซนต์ ฟาน กอห์ก ศิลปินชาวดัตช์ได้เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดศิลปะแขนงต่างๆมากมายตั้งแต่การก่อกำเนิดลัทธิ เจอร์มันเอ็กซ์เพรสชันนิสม์ วงการภาพยนตร์ที่นำภาพของท่านทั้งมาเป็นต้นแบบในการออกแบบภาพและนำชีวิตมาถ่ายทอด

ไปจนถึงเพลงดังอย่าง Starry Starry Night ของ ดอน แมคลีน ที่ทุกคนรู้จักกันดี ดังนั้นความยากประการแรกของ Loving Vincent หาใช่เทคนิคการนำเสนอแต่คือการถ่ายทอดเรื่องราวที่คอศิลปะทุกคนรู้กันดีอยู่แล้วมาถ่ายทอดให้แปลกใหม่และน่าประทับใจซึ่งจุดนี้ โดโรตา โคบีลา (ร่วมกำกับร่วมกับ ฮิวจ์ เวลช์แมน) ศิลปินสาวชาวโปแลนด์รู้ซึ้งดีจึงจับจุดจากจดหมายฉบับสุดท้ายที่วินเซนต์ ฟาน กอห์ก

ตั้งใจส่งถึงน้องชายมาเป็นหัวใจของเรื่องและใช้ตัวละครจากภาพวาดอย่าง อาร์มาน รูแลง ลูกชายของ โจเซฟ รูแลง (คริส โอ ดาวด์) บุรุษไปรษณียที่มักปรากฏในภาพเขียนของวินเซนต์มาเป็นตัวละครนำ ซึ่งแม้ภาพของอาร์มานจะไม่ได้เป็นที่รู้จักเท่าภาพของพ่อแต่ในแง่สัญญะแล้วถือเป็นการสร้างตัวละครที่ชาญฉลาดมาก

กล่าวคือการนำบุคคลที่เหมือนถูกลืมอย่างลูกชายบุรุษไปรษณีย์ที่ภาพของพ่อเขาดังกว่ามาเป็นตัวละครนำก็เหมือนการนำบุคคลที่โลกลืมมาเป็นสื่อกลางให้เรารู้จัก วินเซนต์ ฟาน กอห์ก ผ่านกลยุทธ์แบบหนังสืบสวนที่น่าตื่นตาตื่นใจจนทำให้เราได้รับรู้เรื่องราว ความคิด

รีวิวอนิเมะออนไลน์

ความรู้สึกหลังดู

ชีวิตและการฟังฝ่าอุปสรรคของศิลปินเอกได้อย่างลึกซึ้ง และทีละน้อยที่วินเซนต์ก็ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจที่สร้างเป้าหมายให้นักเลงหัวไม้อย่าง อาร์มาน ไม่ต่างจากภาพเขียนของวินเซนต์ที่จรรโลงใจคอศิลปะมาหลายทศวรรษประกอบกับ

การนำเสนอผ่านภาพเขียนสีน้ำมันที่ใช้ศิลปินวาดและลงสีทุกเฟรมก็ยิ่งทำให้การชมอนิเมชั่นเรื่องนี้พิเศษกว่าทุกครั้งเพราะแต่ละเฟรมภาพเราจะได้เห็นร่องรอยการสโตรคภู่กันและแปรงจนแทบจะได้กลิ่นสีน้ำมันกันเลยทีเดียว

Loving Vincent ถือเป็นอนิเมชั่นที่ไม่เหมือนใครตรงการผสมผสานเทคนิคทางภาพยนตร์เข้ากับศิลปะดั้งเดิมอย่างภาพวาดสีน้ำมัน โดยใช้เทคนิคโรโตสโคป (Rotoscope) โดยเริ่มจากถ่ายทำนักแสดงหน้ากรีนสกรีนแล้วพิมพ์เป็นภาพนิ่งทีละเฟรมเพื่อให้ศิลปินวาดภาพสีน้ำมัน

โดยแยกเลเยอร์ระหว่างตัวนักแสดงและฉาก ซึ่งด้วยความที่หนังต้องใช้ภาพสีน้ำมันถึง 66,960 ภาพ ทำให้ต้องใช้บริการจิตรกรถึง 80 คนจากทุกมุมโลกโดยมีงานเขียนชิ้นเอกของ วินเซนต์ ฟาน กอห์กถึง 94 ชิ้นเป็นต้นแบบจึงกล่าวได้ว่านี่คืองานบูชาครูอย่างฟาน กอห์กอย่างแท้จริง และผลลัพธ์ก็ไม่ทำให้สาวกของอัครศิลปินท่านนี้ต้องผิดหวังเพราะภาพวาดดังๆของท่านได้ถูกถ่ายทอดอย่างละเอียดละออตั้งแต่งานวาดภาพบุคคลหรือพอร์ตเทรต (Portrait)

ที่กลายเป็นตัวละครเอกอย่างภาพ Young man with a cap (1888) ที่เป็นภาพตัวเองอย่าง อาร์มาน รูแลง ตัวเอกของเรื่อง, Marguerite Gahet at the Piano (1890) ภาพวาดของมากาเรต กาเชต์ รวมถึงงานชิ้นเอกที่คอศิลปะรู้จักกันดีอย่าง Portrait of Dr. Gachet (1890)

ที่เป็นภาพวาดคุณหมอกาเชต์ และ Old Man With His Head In His Hands (1890) ที่ในหนังนำมาอุปโลกต์เป็นภาพนำเสนอตัวละครอย่างคุณหมอมาเซอรี่(บิล โธมัส) ตัวละครที่ถูกเขียนเพิ่มขึ้นใหม่ ตลอดจนภาพวาดแจกันดอกไม้และสิ่งของมากมายก็ถูกนำเสนอในฉากประหนึ่งสารลับหรืออีสเตอร์เอ๊ก (Easter Egg)ที่คอยเช็คความเป็นแฟนพันธุ์แท้ของผู้ชมและที่ขาดไม่ได้คือภาพวาดทิวทัศน์ดังๆอย่าง The Fields (1890)

ทุ่งรวงทองที่วินเซนต์ตัดสินใจปลิดชีพตนเอง และ Landscape with a Carriage and a Train (1890) ภาพคันนาที่มีรถไฟวิ่งอยู่ด้านหลังอันงดงามและเปี่ยมมิติ และที่ขาดไม่ได้คือ The Starry Night (1889) ภาพชิ้นเอกที่ใครๆก็ประทับใจก็ถูกนำมานำเสนอเป็นฉากเปิดเรื่องได้อย่างน่าประทับใจ

ดูอนิเมะออนไลน์

นอกจากเรื่องราวและเทคนิคการนำเสนออนิเมชั่นด้วยภาพวาดสีน้ำมันที่ทำให้เห็นถึงแรงศรัทธาต่อศิลปินอย่าง วินเซนต์ ฟาน กอห์ก แล้วหนังยังได้ คลินต์ แมนเซล ที่ถนัดงานหนังถ่ายทอดจิตใจอันบิดเบี้ยวตัวละครจาก Requiem for a dream (2000) และ Black Swan (2010) มาประพันธ์ดนตรีประกอบที่ทำให้คนดูเข้าใจและเข้าถึงชีวิตศิลปินผู้โดด

เดี่ยวที่ต้องเผชิญวิบากกรรมทั้งอาการป่วยทางจิต การถูกขับไล่ และการจากไปท่ามกลางข้อครหาต่างๆได้อย่างเข้าถึงอารมณ์รวมถึงสามารถแบ่งอารมณ์ของตัวละครที่รู้จักวินเซนต์ในมุมมองที่แตกต่างกันได้อย่างคมคายและลึกซึ้งผ่านดนตรีสังเคราะห์ผสมผสานเครื่องดนตรีพื้นเมืองของดัตช์ได้อย่างลงตัว และแน่นอนว่าเพลงเด่นอย่าง Starry Starry Night เพลงเก่าของ ดอน แมคลีน ก็ถูกนำมาถ่ายทอดผ่านเสียงเศร้าของ ลีแอน ลา ฮาวาส ได้อย่างละมุนละไมและบาดลึกถึงขั้วหัวใจจริงๆ

คงไม่เกินจริงนักหากจะกล่าวว่า Loving Vincent คือปรากฏการณ์ที่น้อยครั้งจะเกิดขึ้นกับทั้งวงการภาพยนตร์และศิลปะ การได้เห็นภาพเขียนสีน้ำมันมีชีวิตด้วยวิธีการที่ผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีและศิลปะดั้งเดิมไม่เพียงให้ผลทางด้านความตื่นตาตื่นใจเท่านั้นแต่มันยังเป็นช่องทางที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้เราเห็นคุณค่าของงานศิลปะที่คน

ไทยมักละเลยเพราะเห็นเป็นของสวยงามของชนชั้นสูง แท้ที่จริงแล้วการได้ยลโฉมภาพเขียนสักภาพด้วยมุมมองของมนุษย์ที่ต้องการเสพความงามก็เพียงพอแล้วไม่ใช่หรือที่จะช่วยจรรโลงจิตใจและขัดเกลาให้มนุษย์คนหนึ่งเห็นถึงคุณค่าของชีวิต แม้จะต้องเผชิญวิบากกรรมไม่ต่างจากศิลปินอย่าง วินเซนต์ ฟาน กอห์ก ก็ตาม

ชื่อภาพยนตร์: Loving Vincent / ภาพสุดท้ายของแวนโก๊ะ
ผู้กำกับภาพยนตร์: Dorota Kobiela, Hugh Welchman
ผู้เขียนบทภาพยนตร์: Dorota Kobiela, Hugh Welchman
นักแสดงนำ: Douglas Booth, Jerome Flynn, Robert Gulaczyk, Aidan Turner, John Sessions, Saoirse Ronan, Eleanor Tomlinson
ดนตรีประกอบ: Clint Mansell
ความยาว: 94 นาที
แนว/ประเภท: Animation, Biography, Crime, Drama
อัตราส่วนภาพ: 1.33 : 1
ปี: 2017
เรท: ไทย/, MPAA/PG-13
วันที่เข้าฉายในประเทศไทย: 21 ธันวาคม 2017
สตูดิโอ/ผู้สร้าง/ผู้จัดจำหน่าย: BreakThru Productions, Trademark Films, Silver Reel, M Pictures

รีวิวการ์ตูนอนิเมะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *