รีวิว Night Is Short – Walk On Girl

ค่ำคืนแห่งการสารภาพรักของรุ่นพี่หนุ่ม กับรุ่นน้องสาว ช่างมีความเยิ่นยาวนานยิ่งนัก ต่างมีเรื่องให้พลัดพรากจาก พบเจอเหตุการณ์เหนือธรรมชาติมากมาย ท้ายที่สุดแล้วความบังเอิญจะแปรเปลี่ยนเป็นโชคชะตาสำเร็จหรือไม่ แต่ผู้ชมต้องใช้สติปัญญาครุ่นคิดตีความเข้าใจจนสมองแทบระเบิด

Night Is Short, Walk On Girl (2017) ดัดแปลงจากนวนิยายของ  มีผลงานที่เคยถูกสร้างเป็นอนิเมะอย่าง The Tatami Galaxy (2010), The Eccentric Family (2013), Penguin Highway (2018) ฯลฯ เลื่องลือชาในเรื่องราวสุดซับซ้อน ซ่อนเร้นนัยยะเชิงนามธรรม และเมื่อนำมาประกอบสไตล์กำกับโคตร ‘Eccentric’ ของ Masaaki Yuasa ทำเอาคนดูครุ่นคิดปวดหัวจนแทบคลุ้มบ้าคลั่ง แต่ก็ยังถือว่าเต็มไปด้วยท้าทายให้ค้นหาคำตอบ

รีวิวอนิเมะ

รีวิว Night Is Short Walk On Girl (2017)

ใครเคยรับชมอนิเมะซีรีย์ The Tatami Galaxy (2010) น่าจะมีความรู้สีกมักคุ้นเคย ตั้งแต่รูปลักษณะตัวละคร (บางคนก็มารับเชิญด้วยนะครับ) พื้นหลัง Kyoto University (สถานที่ศีกษาร่ำเรียนของ  เทคนิควิธีนำเสนอ (สไตล์ลายเซ็นต์ผู้กำกับ Yuasa) แม้เรื่องราวไม่ได้มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน แต่สามารถถือเป็น ‘spiritual sequel’ ภาคต่อทางจิตวิญญาณ!

ต้องการย้ำเตือนคนหนุ่ม-สาว ช่วงเวลาวัยรุ่น/ร่ำเรียนมหาวิทยาลัยมันแสนสั้นยิ่งนัก โดยเฉลี่ย 4 ปีมักเคลื่อนผ่านพ้นไปอย่างรวดเร็วไว ครุ่นคิดอยากทำอะไรก็ให้เร่งรีบดำเนินไป อย่าปล่อยชีวิตให้ล่องลอยเรื่อยเปื่อย พอจบมาทำงาน แต่งงานมีครอบครัว มันจะไม่หลงเหลือเวลาให้ทำอะไรได้อีก

รีวิว Night Is Short Walk On Girl (2017)

ถือเป็นอนิเมะที่ต้องให้เวลาครุ่นคิด-ตีความ-ย่อยสลายสสาร เพราะทุกสิ่งอย่างล้วนคือสัญลักษณ์เชิงนามธรรม อย่าเอาอารมณ์ความรู้สึก ความไม่เข้าใจ มาตัดสินคุณค่างานศิลปะอย่างเด็ดขาด! ถ้าคุณยังดูไม่รู้เรื่องแนะนำให้ปล่อยผ่าน ค่อยๆศึกษาเรียนรู้ สะสมประสบการณ์ เมื่อมีโอกาสค่อยหวนกลับมารับชมซ้ำใหม่ อาจค้นพบความน่าอัศจรรย์ใจ หลงใหลคลั่งไคล้โดยไม่รู้ตัว

คือการเดินทางเพื่อเรียนรู้จักสร้างสานสัมพันธ์ แรกเริ่มเราอาจไม่รู้รับจักใคร แต่เมื่อได้พบปะ พูดคุย มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน ไม่ว่าจะดีหรือร้าย สุดท้ายก็คือมิตรสหาย เพื่อนพี่น้อง สามารถให้ความช่วยเหลือ จุนเจือเกื้อหนุน เป็นกำลังใจต่อกัน ให้สามารถต่อสู้ฟันฝ่าอุปสรรค ช่วงเวลาร้ายๆกลับกลายเป็นดี

ในเรื่องของความสัมพันธ์ มันไม่ใช่แค่ระหว่างมนุษย์ด้วยกันเท่านั้น สมุดหนังสือเก่า หรือแม้แต่โรคระบาดติดต่อ ทุกสรรพสิ่งอย่างล้วนมีเส้นใยบางๆเชื่อมโยงถีงกัน การครุ่นคิดเช่นนั้นจักทำให้เราสามารถเพลิดเพลินไปกับชีวิต ไม่หมกมุ่นยึดติดกับตัวตนเอง อยากพบปะผู้คน แสวงหาองค์ความรู้ใหม่ๆ เปิดมุมมองโลกทัศน์ให้กว้างออกไป แล้วจักเห็นความเป็นได้ไม่ได้รู้จบสิ้น

รีวิว Night Is Short Walk On Girl (2017)

รีวิว Night Is Short – Walk On Girl

หลังเรียนจบเริ่มต้นทำงานเป็น In-Between สตูดิโอ Ajia-do แม้ไม่ใช่คนมีพรสวรรค์ด้านการวาด แต่เก็บงานละเอียด รวดเร็ว แทบไร้ข้อบกพร่อง เป็นที่ถูกอกถูกใจผู้ร่วมงานจนได้มาเป็น Key Animation ซีรีย์ Chibi Maruko-chan (1990-92), มีชื่อเสียงจากออกแบบสรรค์สร้างสองบทเพลงใน Chibi Maruko-chan: My Favorite Song (1992), จาก

นั้นก้าวขึ้นมาเป็นนักวาด Storyboard, กำกับอนิเมชั่น (Animation Director) ซีรีย์ Crayon Shin-chan (1992-), กระทั่งได้รับโอกาสเขียนบท กำกับตอนที่ 3 ของ OVA เรื่อง Anime Rakugo Kan (1992) เลยค้นพบเป้าหมายที่อยากทำ คือการก้าวขึ้นมาเป็นผู้กำกับ ค่อยๆเก็บสะสมประสบการณ์จนสามารถแจ้งเกิดกับ Mind Game (2004) แล้วหันไปสร้างอนิเมะซีรีย์ในสังกัด Madhouse อาทิ Kemonozume (2006), Kaiba (2008), The Tatami Galaxy (2010)

ช่วงระหว่างพัฒนาโปรเจค The Tatami Galaxy (2010) ผู้กำกับ Yuasa มีโอกาสอ่านนวนิยายเล่มอื่นๆของ รวมไปถึง Night Is Short, Walk On Girl ซึ่งมีลักษณะเหมือนภาคต่อทางจิตวิญญาณ นำหลายๆแรงบันดาลใจ การออกแบบตัวละคร มาปรับใช้ในการขยายเรื่องราว(ของ The Tatami Galaxy)ที่ดั่งเดิมมีเพียงแค่ 4 โลกคู่ขนาน ให้กลายเป็นอนิเมะซีรีย์ 12 ตอนละชมรม และตระเตรียมการสำหรับดัดแปลงสร้างเป็นผลงานเรื่องถัดไปไว้เสร็จสรรพ

รีวิวอนิเมะออนไลน์

ความรู้สึกหลังดู

โปรเจคแรกของ Science SARU คือร่วมสร้างสรรค์ Adventure Time (2010-18) ซีรีย์ฉายที่อเมริกา ซีซัน 6 ตอนที่ 7 ชื่อว่า Food Chain (2014) ทั้งหมดเป็นงานภายใน (in-House) ได้เสียงตอบรับดีล้นหลาม เข้าชิง Annie Award: Outstanding Television Direction, ติดตามมาด้วยอนิเมะซีรีย์ Ping Pong the Animation (2014) [Yuasa กำกับให้ Tatsunoko Production โดย Science SARU รับงานเป็น outsourse] และอีกตอนหนึ่งของ Space Dandy (2014) ชื่อ Slow and Steady Wins the Race, Baby [ร่วมกับสตูดิโอ BONES]

ดูอนิเมะออนไลน์

จากกระแสความนิยมอันล้มหลามต่อนวนิยายของ Morimi สูงกว่า 1.6+ ล้านเล่ม) ทำให้โปรดิวเซอร์หลายๆคนติดต่อเข้ามาขอลิขสิทธิ์ดัดแปลงสร้างอนิเมะ แต่เขาค่อนข้างเลือกมาพอสมควร จนกระทั่งสตูดิโอ Noitanima ยื่นข้อเสนอพร้อมแนะนำผู้กำกับ Masaaki Yuasa ประทับใจในสไตล์อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว น่าจะเข้ากันได้ดีกับนวนิยายเล่มนี้

มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มิอาจอาศัยอยู่ตัวคนเดียว-เปล่าเปลี่ยวหัวใจ คนส่วนใหญ่จึงใคร่หาใครสักคนมาเคียงข้าง พึ่งพักพิงยามทุกข์ยากลำบาก แต่สิ่งที่มนุษย์หวาดกลัวยิ่งกว่าคือการเริ่มต้นสร้างสานสัมพันธ์ เพราะครุ่นคิดว่าอีกฝั่งฝ่ายคือบุคคลแปลกหน้า ก็มิอาจรับรู้ว่าจะมาดีหรือร้อย บางทีสุราอาจช่วยละลายพฤติกรรมออกมาได้ แต่ต้องระวังมิให้ล่องลอยเลยเถิดไปก่อนถึงเวลาอันสมควร

ส่วนใหญ่แล้วที่มนุษย์มีความขลาดเขลา-หวาดสะพรึงกลัวนั้น ล้วนเกิดจากตัวตนเองที่พยายามครุ่นคิดสรรหาข้ออ้าง สร้างกำแพงขึ้นมากีดขวางกั้น เฝ้ารอวันโชคชะตาหล่นใส่ (แอปเปิ้ลหรือปลาคาร์พดีละ) ก็อาจถูกหมาคาบไปแดกโดยไม่รู้ตัว

น่าเสียดายที่อนิเมะเรื่องนี้ยังไม่มีอัลบัมรวมเพลงประกอบ (อาจเพราะอนิเมะไม่ค่อยได้รับความนิยม หรือ Ōshima งานยุ่งมากจนไม่มีเวลา) ใช้เพียงเปียโน เชลโล่ และเครื่องสายอีกนิดหน่อย ใส่ความสนุกสนาน ครีกครื้นเครง ราวกับเด็กน้อยกำลังวิ่งเล่น ผจญภัยยังโลกกว้าง พร้อมเปิดรับมุมมองใหม่ ชีวิตเต็มไปด้วยแสงสีสัน มีนเมามันไปกับสรรพสิ่งอย่าง

เป็นอนิเมะที่ความเฉพาะตัวสูงมากๆ ถือเป็น ‘intellectual film’ ที่ต้องใช้การครุ่นคิดวิเคราะห์ถีงสามารถทำความเข้าใจ จีงไม่เหมาะกับผู้ชมทั่วๆไป ยกเว้นใครที่ชื่นชอบความท้าทาย ศิลปินแขนงต่างๆ นักคิด นักปรัชญา และนักศีกษามหาวิทยาลัยผู้โหยหาความรัก ไม่รู้จักเริ่มยังไง นี่อาจเป็นแรงบันดาลใจ เปิดโลกทัศน์ใหม่โดยไม่รู้ตัว

รีวิวการ์ตูนอนิเมะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *