รีวิว Paprika ปาปริก้า
วันนี้แอดจะมารีวิวอนิเมะเรื่อง Paprika ปาปริก้า เครื่องเทศรสจัดจ้านจาก Satoshi Kon เรื่องราวล้ำจินตนาการของทีมค้นคว้าการเก็บข้อมูลความฝัน ที่ถูกคุกคามจากบุคคลผู้ต้องการครอบครองมัน
Paprika เป็นเรื่องของอนาคตเมื่อมีการคิดค้นเครื่อง DC mini อุปกรณ์รักษาผู้ป่วยทางจิตด้วยการรักษาผ่านความฝัน อุปกรณ์ชนิดนี้สามารถทำให้เราเห็นความฝันของคนอื่นและเข้าไปมีส่วนร่วมในความฝันนั้นได้ ใช้เพื่อค้นหาปมในใจผู้ป่วยเพื่อวินิจฉัยและรักษาโครงการนี้อยู่ในขั้นทดลองของ ดร.ชิบะ อยู่มาวันหนึ่งเครื่อง DC mini ถูกขโมยไป
ความน่ากลัวของคนที่นำเครื่องนี้ไปใช้คือเขาสามารถบิดเบือนความฝันของใครก็ได้แม้ในขณะตื่น ทำให้โลกความฝันกับความจริงปะปนกันจนแยกไม่ออก ดร.ชิบะ หรือ สาวน้อยปาปริก้า (ตัวแทนในโลกความฝัน) จึงต้องนำเครื่องมือนี้กลับมาให้ได้ก่อนที่จะถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด
หนังเรื่องสุดท้ายในช่วงชีวิตของซาโตชิ คงที่เป็นไอเดียให้กับหนังชื่อดังอย่าง Inception หนังเรื่องนี้เกี่ยวกับอนาคตที่คิดค้นเทคโนโลยีที่เข้าไปในความฝันได้ ตัวเอกของเราอย่างปาปริกาต้องเข้าไปหยุดยั้งการจารกรรมบางอย่างร่วมกับตำรวจในเรื่อง
ความพิเศษของเรื่องนี้อยู่ที่พล็อตเนื้อเรื่องที่โคตรแฟนตาซี ซึ่งแน่นอนว่าซาโตชิ คงก็ถ่ายทอดออกมาด้วยภาพที่โคตรแฟนตาซีเช่นกัน ในโลกที่ดูเหมือนทุกอย่างอะไรก็เป็นไปได้ทำให้ภาพที่เห็นนั้นบางทีก็ดูเหนือความคิดหรือมีอะไรแปลกๆมาตลอด ภาพเปลี่ยนอย่างรวดเร็วหรือบางทีหายพรวดฉากเปลี่ยนกลายเป็นสายน้ำ อันนี้เป็นเรื่องปกติที่เหมือนจะเกิดขึ้นในความฝันของเราซึ่งภาพที่ออกมาทำให้ดูแฟนตาซีมาก ยิ่งซีเควนท์ที่เรียงต่อกันตั้งแต่ฉากปาปริกาปรากฏตัว แค่ได้ดูงานภาพก็เอนจอยพอแล้ว
ฉากชื่อดังในตำนานในเรื่อง Inception ก็ได้แรงบรรดาลใจมาจากเรื่องนี้ ฉากที่โจเซฟ กอร์ดอน เลวิตต์สู้ในโรงแรมและภาพดูไร้แรงน้วมถ่วงไร้ทิศทาง และห้องดูเหมือนเป็นของเหลว แน่นอนมันเป็นฉากแกนหลักสำคัญใน Paprika ในความทรงจำของตำรวจที่ค่อนข้างจะเป็นจุดที่เชื่อมหลายสิ่งสำคัญๆเข้าไปด้วยกัน
เราว่าเรื่องนี้ดูเพลินสนุกและให้แรงบรรดาลใจหลายๆอย่าง เพลงก็เพราะ เราชอบมาก แต่เราคิดว่าหลายคนน่าจะรำคาญ555 และแน่นอนบทและพล็อตที่โคตรให้แรงบรรดาลใจและการดำเนินเรื่องที่อาจจะแหวกสำหรับแนวความคิดของหนังเมื่อสิบปีที่แล้ว อาจจะเข้าใจยากสักนิดนึงสำหรับหนังเรื่องนี้เพราะเรื่องเดินค่อนข้างเร็ว แต่ถ้าตามให้ทันเราว่าเป็นอีกเรื่องที่สนุกและดีมาก ถ้าเข้าใจมันถือว่าเป็นหนังอนิเมชั่นในตำนานอีกเรื่องนึงก็ว่าได้
ถึงรับชมภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องนี้แล้ว หลายคนอาจได้เกาหัวสงสัย อารัมบทดังกล่าวหมายถึงอะไร? นั่นคือเหตุผลที่ผมครุ่นคิดได้ต่อการเลือกใช้ชื่อ Paprika ร่างอวตารความฝันของนางเอก ภายนอกตัวจริงของเธอช่างมีความจืดชืด อ่อนแอ แสนธรรมดา แต่ภายในจิตใจกลับเผ็ดแซบ เซ็กซี่ เร่าร้อนแรง สามารถกางปีกโบยบิน ขี่เมฆเหินหาว ไปไหนมาไหนได้อย่างอิสระเสรี อนิเมะผู้หญิง
‘ความฝัน’ คือจินตนาการอันไร้ขอบเขตของมนุษย์ โดยปกติแล้วมักจะเป็นของใครของมัน ไม่มีใครเหมือนกัน แต่โลกยุคสมัยนี้ปรากฎเทคโนโลยีหนึ่งที่สามารถแลกเปลี่ยน แบ่งปัน อวตารอีกตัวตนเองเข้าไป กลายเป็นสื่อสารไร้พรมแดน เรียกว่า ‘อินเตอร์เน็ต’
ความฝัน vs. อินเตอร์เน็ต มันคนละเรื่องเลยนะ! แต่สำหรับอนิเมชั่นเรื่องนี้ ถือว่านำเสนอลักษณะแนวคิดที่มีความคล้ายคลึง นั่นคือสร้างโลกแห่งความฝัน/จักรวาลคู่ขนาน ที่มนุษย์สามารถแยกกาย-จิต (ตัวตนแท้จริง-อวตารในโลกอินเตอร์เน็ต) และแบ่งปัน ‘แชร์’ องค์ความรู้ร่วมกับผู้อื่น
บทความนี้ผมจะเขียนผสมๆกันระหว่าง ความฝัน/อินเตอร์เน็ต อ่านไปเรื่อยๆก็จะเริ่มแยกไม่ออกเองแบบความจริง-ความฝัน และที่น่าทึ่งสุดคือหายนะในอนิเมะ กำลังถือกำเนิดขึ้นในโลกปัจจุบันนี้!
รีวิว Paprika ปาปริก้า
Satoshi Kon (1963 – 2010) ผู้กำกับ อนิเมเตอร์ นักเขียน/วาดการ์ตูน สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Sapporo, Hokkaido ตั้งแต่เด็กหลงใหลในอนิเมะเรื่อง Space Battleship Yamato (1974), Heidi, Girl of the Alps (1974), Future Boy Conan (1978), Mobile Suit Gundam (1979) ฯ โตขึ้นเข้าเรียนต่อ Graphic Design ที่ Musashino Art University มีผลงาน debut เป็นนักเขียนการ์ตูนสั้น Toriko (1984) คว้ารางวัลนักวาดการ์ตูนหน้าใหม่ Kodansha’s Young Magazine Award แต่เพราะยังไม่ใช่สิ่งแท้จริงที่ต้องการ
สมัครงานเป็นนักวาดพื้นหลังและ Layout Animator เรื่อง Roujin Z (1991), Hashire Melos! (1992), Patlabor 2 (1993), กำกับอนิเมะครั้งแรก ตอนที่ 5 ของซีรีย์ Jojo’s Bizarre Adventure (1994), ร่วมงานกับสตูดิโอ Madhouse เขียนบทตอนหนึ่งของ Memories (1995), และได้รับโอกาสขึ้นมากำกับภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องแรก Perfect Blue (1997)
ผู้กำกับ Kon มีความสนใจดัดแปลงนวนิยายไซไฟ Paprika (1993) แต่งโดย Yasutaka Tsutsui มาตั้งแต่หลังเสร็จจาก Perfect Blue แต่เนื่องจากสตูดิโอจัดจำหน่าย Rex Entertainment ประกาศล้มละลาย เลยต้องขึ้นหิ้งโปรเจคนี้ไว้ก่อน เอาตัวรอดด้วยการย้ายไปร่วมงานกับ Madhouse สร้าง Millennium Actress (2001), Tokyo Godfathers (2003), ซีรีย์ Paranoia Agent (2004) จนประสบความสำเร็จล้นหลาม และในที่สุด Masao Takiyama เจ้าของสตูดิโอ Madhouse จึงยินยอมไฟเขียวให้สร้างอนิเมชั่นในฝันเรื่องนี้เสียที
Yasutaka Tsutsui (เกิดปี 1934) นักเขียนนวนิยายไซไฟชื่อดัง ที่ชอบผสมผสานจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) เข้ากับโลกจินตนาการ (Surrealism) ผลงานเด่นๆ อาทิ
– Toki o Kakeru Shōjo/The Girl Who Leapt Through Time (1967)
– Yumenokizaka Bunkiten/Dreamtree Hill Junction (1987) ** คว้ารางวัล Tanizaki Prize
– Asa no Gasupāru/Gaspard in the Morning (1992) ** คว้ารางวัล Nihon SF Taisho Award
– Paprika (1993)
ฯลฯ
Tsutsui เริ่มเขียนนวนิยาย Paprika ลงในนิตยสารรายเดือน Marie Claire โดยแบ่งเป็น 4 ตอน มกราคม 1991, มีนาคม 1992, สิงหาคม 1992, มิถุนายน 1993 และรวมเล่มตีพิมพ์ปลายปี 1993
Kon ร่วมงานดัดแปลงบทกับ Seishi Minakami ประทับใจจากเคยร่วมงานซีรีย์ Paranoia Agent (2004) ผลงานอื่นเดๆ อาทิ Beyblade (2001), Fullmetal Alchemist: Brotherhood (2009-10), A Certain Scientific Railgun (2009-10), Bakuman (2010) ฯ
อนาคตอันใกล้, เทคโนโลยีจิตบำบัด (Psychotherapy) ได้รับการพัฒนาให้สามารถอ่านคลื่นสมอง ปรากฎภาพความฝันของผู้ป่วย ด้วยอุปกรณ์ชื่อ DC Mini โดยมี Atsuko Chiba นักวิจัยสถาบัน Institute for Psychiatric Research ทำการถอดจิตของตนเอง ‘Alter Ego’ ตั้งชื่อว่า Paprika สามารถอวตารเข้าไปในความฝันของผู้อื่นได้
ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อใครสักคนลักขโมยอุปกรณ์ DC Mini แล้วทำการขยายสัญญาณ ปรับคลื่นความถี่ให้สามารถส่งตรงสู่สมอง (โดยไม่จำเป็นต้องใช้ DC Mini อีกต่อไป) ทำให้เกิดการแชร์ความฝันร่วมกัน ลุกลามบานปลายใหญ่โตจนปรากฎเห็นสองโลกซ้อนทับ จะมีวิธีการไหนสามารถยุติหายนะที่บังเกิดขึ้นนี้ได้
ความรู้สึกหลังดู
Atsuko Chiba (พากย์เสียงโดย Megumi Hayashibara ผลงานเด่นๆ Ranma ½, Rei-Neon Genesis Evangelion, Faye-Cowboy Bebop, Yuki-Sword Art Online) นักวิจัยสถาบัน Institute for Psychiatric Research ภายนอกเป็นคนเยือกเย็นชา แข็งกระด้าง สวมแว่น รัดผม แต่งกายมิดชิดเรียบเรียบ ราวกับผ้าพับไว้ แต่เมื่อไหร่ถอดจิตกลายเป็น Paprika สาวผมแดงเผ็ดแซบ แต่งกายสบายๆ ชอบกระโดดโลดเต้น นิสัยขี้เล่น ร่าเริงสนุกสนาน เรียกว่าภายนอก-ภายในแตกต่างตรงกันข้ามโดยสิ้น
Kōsaku Tokita (พากย์เสียงโดย Tōru Furuya ผลงานเด่นๆ Amuro Ray-Mobile Suit Gundam, Pegasus Seiya-Saint Seiya, Yamcha-Dragon Ball, Tuxedo Mask-Sailor Moon, Sabo-One Piece) นักวิทยาศาสตร์อัจฉริยะ ผู้ครุ่นคิดประดิษฐ์เครื่อง DC Mini ให้ใครๆสามารถเข้าไปในความฝันคนอื่นได้ รูปร่างอ้วนท้วนบริโภคได้ทุกสิ่งอย่าง กลับมีจิตใจใสซื่อบริสุทธิ์เหมือนเด็กน้อย และในโลกความฝันอวตารเป็นหุ่นยนต์ เคลื่อนไหวราวกับโปรแกรมที่ตนเองสร้างขึ้น
Toratarō Shima (พากย์เสียงโดย Katsunosuke Hori) หัวหน้าทีมวิจัยสถาบัน Institute for Psychiatric Research เป็นคนตัวเล็กๆ สวมแว่นหน้าเตอะ นิสัยร่าเริงสนุกสนาน วิสัยทัศน์กว้างไกล แต่เหมือนจะพึ่งพาอะไรไม่ค่อยได้เท่าไหร่
Seijirō Inui (พากย์เสียงโดย Tōru Emori, เคยร่วมงานกับผู้กำกับ Kon เรื่อง Tokyo Godfather ในบท Gin) ผู้อำนวยการสถาบันวิจัย Institute for Psychiatric Research คงด้วยความชราภาพเลยไม่สามารถลุกขึ้นก้าวเดินจำต้องนั่งบนรถเข็น ให้ทุนสร้างโลกแห่งความฝันแล้วยกตนเองเป็น ‘Protector of the Dreamworld’ แต่วัตถุจุดประสงค์แท้จริง ต้องการหวนกลับเป็นคนหนุ่มเดินได้อีกครั้ง ในฝันเลยรากงอกจากแขนขา
Morio Osanai (พากย์เสียงโดย Kōichi Yamadera ผลงานเด่นๆ Jūbei Kibagami-Ninja Scrol, Spike-Cowboy Bebop, Beerus-Dragon Ball Super, Togusa-Ghost in the Shell, Ryoji-Neon Genesis Evangelion) หนึ่งในทีมวิจัยที่ตกหลุมรัก Chiba เลยยินยอมเป็นลูกน้องของ Inui แลกเปลี่ยนความต้องการส่วนตัว จับเธอมาสต๊าฟผีเสื้อ คงความสวยงามชั่วนิจนิรันดร์
Detective Toshimi Konakawa (พากย์เสียงโดย Akio Ōtsuka ผลงานเด่นๆ Black Jack, Shunsui Kyouraku-Bleach, Batou-Ghost in the Shell, Blackbeard-One Piece, Rider-Fate/Zero, Wamuu-JoJo’s Bizarre Adventure) เพื่อนสนิทของ Shima ได้รับคำแนะนำให้รู้จักกับ Paprika จับพลัดพลูกลายมาเป็นนักสืบคดีหายนะของสถาบันวิจัย Institute for Psychiatric Research และสามารถเอาชนะปมฝันร้ายจากอดีตได้สำเร็จ
ในส่วนงานภาพ ถือว่าเต็มไปด้วยความท้าทายที่ก้าวข้ามผ่านผลงานอื่นๆไปไกลโขทีเดียว ความแตกต่างระหว่างโลกความจริง-ความฝัน สังเกตได้จาก
– โลกความจริง มักมีโทนสีอ่อนๆ ฟ้า-ขาว-เทา ไม่ฉูดฉาดสักเท่าไหร่
– โลกความฝัน เผ็ดแซบ หลากหลาย ฉูดฉาด บิดบูดเบี้ยว อะไรๆสามารถบังเกิดขึ้นได้ทั้งนั้น
เมื่อตอน Millennium Actress (2001) ผู้กำกับ Kon ได้ทดลองการเคลื่อนไหวของภาพพื้นหลังที่ปรับเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ แทบไม่เคยหยุดอยู่นิ่ง สำหรับ Paprika สามารถเรียกเต็มปากเต็มคำได้ว่า ‘พื้นหลังที่มีชีวิต’ ดูแล้วคงใช้ Computer Graphic (CG) เข้าช่วยด้วยพอสมควรเลยละ ไม่เช่นนั้นจะสร้างเพียงปีกว่าๆเสร็จได้อย่างไร (อนิเมะของ Hayao Miyazaki วาดมือล้วนๆเป็นแสนๆภาพ นั่นใช้เวลาอย่างน้อย 3-4 ปีกว่าจะเสร็จนะครับ)