รีวิว Tarzan (1999)
เป็นเรื่องราวการผจญภัยของทารกกำพร้าที่ถูกเลี้ยงดูโดยครอบครัวกอริล่า เขาชื่อว่าทาร์ซาน เมื่อทาร์ซานเติบใหญ่เป็นหนุ่มที่มีสัญชาตญาณเยี่ยงสัตว์ป่าตัวหนึ่งและความแข็งแรงทางกาย ชีวิตของเขาก็เปลี่ยนแปลงไปชั่วนิรันดร์ เมื่อในที่สุดเขาได้พบกับมนุษย์คนอื่น ๆ ซึ่งทำให้เขารู้สึกได้ถึงความแปลกประหลาด ทาร์ซานจะสามารถกลับมาเป็นมนุษย์ดังเดิมได้หรือไม่ ไปติดตามชมกันค่ะ
Tarzan
ปีที่สร้าง 1999
ความยาว 88 นาที
กำกับโดย Kevin Lima และ Chris Buck รีวิวอนิเมะ
เชื่อว่า ใคร ๆ หลายคนอาจจะคุ้นเคยดีกับภาพยนตร์การ์ตูนสุดคลาสสิคขึ้นหิ้งเรื่องนี้ ส่วนตัวของเราชอบเรื่องนี้มาก ๆ เลยค่ะและถือว่าเป็นการ์ตูนแอนิเมชั่นเรื่องแรก ๆ ของดิสนีย์ที่มีความเท่จากฉากแอคชั่นน่าตื่นตาตื่นใจสมจริงสุด ๆ ที่มักไม่ค่อยปรากฎในการ์ตูนเรื่องอื่น ๆ พร้อมด้วยความละเมียดละไมเรื่องรายละเอียดของฉาก สีสัน เพลง บท และเนื้อหาเป็นอย่างมาก
ทาร์ซาน (Tarzan) จากค่ายวอล์ท ดิสนีย์ พิคเจอร์สออกฉายในปี 1999 เป็นภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชั่นลำดับที่ 10 ในช่วงปีทองของดิสนีย์ (The Disney Renaissance 1989-1999) อันเป็น 10 ปีที่ดิสนีย์มีแนวทางหลักในการมุ่งเน้นที่จะสร้างภาพยนตร์แอนิเมชั่นที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ วัฒนธรรม พล็อตที่แปลกใหม่ บทบาทของตัวละครที่ไม่ยึดในขนบเดิม ๆ ซึ่งต่างกับนวนิยายต้นฉบับต่าง ๆ
ที่มีประเด็นอ่อนไหวมากมาย
ทาร์ซานฉบับดิสนีย์ถูกดัดแปลงเนื้อเรื่องมาจากนวนิยายต้นฉบับเรื่อง “Tarzan of the apes” ปี 1914 ของเอ็ดการ์ ไรซ์ เบอร์โรส์ (Edgar Rice Burroughs) นักเขียนชาวอเมริกัน ว่าด้วยเรื่องราวของจอห์นและอลิซ เคลย์ตัน (John and Alice Clayton) สองสามีภรรยามหาเศรษฐีผู้ดีอังกฤษถูก
พวกลูกเรือก่อกบฎปล้นชิงทรัพย์ และนำพวกเขามาปล่อยเอาไว้บนหาดทรายที่ชายฝั่งป่าดงดิบแถบทวีปแอฟริกากลาง ในปี 1888 ทั้งคู่พยายามเอาตัวรอดในป่าและมีชีวิตอยู่ได้ราวหนึ่งปีเศษ อลิซก็ได้ให้กำเนิดลูกชายเพียงคนเดียวของพวกเขา “จอห์น เคลย์ตันที่สอง” (John Clayton The Second)
ต่อจากนั้น เด็กชายตัวน้อยก็ได้สูญเสียพ่อแม่ไป และถูกลิงกอริลลาเพศเมียเก็บไปเลี้ยงเป็นลูกและเติบโตมาเป็นชายหนุ่มผู้สันทัดจัดเจนในการดำรงชีพในป่าดงดิบดุจสัตว์ป่านานาชนิด โดยเขาถูกเรียกขานด้วย
ภาษากอริลลาว่า “ทาร์ซาน” ซึ่งแปลว่า “ผิวขาว” (White Skin)
![รีวิว Tarzan (1999)](https://animeyogo.com/wp-content/uploads/2022/04/4434d7ce-202x300.jpg)
รีวิว Tarzan (1999)
แต่เนื่องจากนวนิยายต้นฉบับถูกเขียนขึ้นจากมุมมองของชายชาวอเมริกันผิวขาว ในยุคที่ความคิดของผู้คนในสังคมอเมริกันยังคงมีการแบ่งแยกความแตกต่างระหว่างเชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม รวมไปถึงอิทธิพลของแนวคิดจักรวรรดินิยม (Imperialism) ซึ่งมีความเชื่อว่า ชนผิวขาวหรือชาวยุโรปนั้น
สูงส่งกว่าเชื้อชาติอื่น ๆ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของชาวยุโรป (White Men’s Burden) ที่จะต้องไปพัฒนาและปกครองชนชาติอื่น ๆ ที่ถูกมองว่าด้อยกว่า ด้วยการเข้าไปปกครอง ควบคุม และเผยแพร่ความรู้ ศาสนา
มารยาท ความเชื่อ ภาษา และสิ่งต่าง ๆ ในวัฒนธรรมตะวันตก ให้แก่ชนพื้นเมือง
อีกทั้งเนื้อหารายละเอียดได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากผู้อ่านและนักวิจารณ์หลายคน ในยุคต่อ ๆ มาว่า ภายในนวนิยายมีการบรรยายถึงการฆ่าสัตว์ป่าอย่างไร้เหตุผล มีการใช้ความรุนแรงหลายรูปแบบ รวมไปถึงประเด็นการเหยียดสีผิวและการลดทอน
คุณค่าความเป็นมนุษย์ของชนเผ่าพื้นเมืองในแอฟริกาอย่างมาก ดังนั้น ในเวอร์ชั่นของดิสนีย์ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กและครอบครัวทางผู้กำกับและทีมผู้สร้างจึงได้เลือกดัดแปลงเรื่องราวที่ต่างออกไป
เราจะเห็นได้ว่า ทาร์ซานฉบับปี 1999 ได้ถูกตัดทอนเนื้อหาที่มีการเหยียดชาติพันธุ์ลงอย่างมากและมุ่งเน้นไปที่ประเด็นที่น่าสนใจของนวนิยายต้นฉบับที่ทางทีมงานผู้สร้างเลือกที่จะเก็บเอาไว้เพื่อพัฒนาเอามาเป็นประเด็นหลักในภาพยนตร์แอนิเมชั่น ซึ่งนั่นก็คือ ”
ประเด็นความรู้สึกแปลกแยกจากสังคมและการเป็นตัวของตัวเอง” และยังได้เพิ่มประเด็นที่ค่อนข้างใหม่ในยุคนั้น นั่นก็คือ “การมองมนุษย์และสัตว์อย่างเท่าเทียมกัน” (The Moral Equality of Humans and Animals)
*มีการเปิดเผยเนื้อหาสำคัญของเรื่อง* Two Worlds: แตกต่างเหมือนกัน
ซึ่งเห็นได้จากฉากเปิดตัวที่ดำเนินเรื่องด้วยเพลง “Two Worlds” ที่ได้เผยให้เราเห็นถึงฉากที่แสดงถึงความรักใคร่ผูกพันและการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของครอบครัวสองเผ่าพันธุ์ที่ตัดสลับกันไปมาเพื่อให้ผู้ชมทราบถึงความคล้ายคลึงกันของสิ่งมีชีวิต นั่นก็คือ จอห์น ผู้เป็นพ่อ อลิซ ผู้เป็นแม่ และทาร์ซานน้อย
ซึ่งเป็นมนุษย์ และครอบครัวกอริลลาที่ประกอบด้วยเคอร์แช็ค (Kerchak) กอริลลาเพศผู้ผู้เป็นจ่าฝูง คาลา (Kala) กอริลลาเพศเมียและเคอร์แช็คน้อย (The Baby Kerchak) ลูกของพวกมัน รวมไปถึงการเติมสีหน้าท่าทางและความรู้สึกให้แก่ตัวละครสัตว์ป่าทุกตัวภายในเรื่อง เพื่อให้ผู้ชมเห็นว่า สัตว์นั้นก็มีความรู้สึกต่าง ๆ เช่น ความสุข ความเศร้า ความกลัว ความกังวล ความหวงแหนพวกพ้องหรือลูกน้อยไม่ต่างกันกับมนุษย์
You’ll be in my heart: รักไร้พรมแดน
และตัวภาพยนตร์ยังทำให้เราเห็นถึงความเชื่อมโยงของตัวละครผ่าน “การสูญเสียพ่อแม่” ของทาร์ซาน และ “การสูญเสียลูก” ของคาลาและเคอร์แช็ค จากการฆ่าอย่างเลือดเย็นของเสือดาวเพศเมียชื่อ “ซาบอร์” (Sabor) ดังนั้น การรับทาร์ซานมาเป็นลูกนั้นจึงได้ช่วยเยียวยาความรู้สึกสูญเสียลูกของคาลา
และในขณะเดียวกันก็ยังทำให้ทาร์ซานได้มีโอกาสรอดชีวิตและได้มีครอบครัวต่อไปด้วย ซึ่งในโลกของความจริง การนำเอาลูกสัตว์ชนิดอื่นมาเลี้ยงเป็นลูกนั้น ไม่ใช่เพียงพฤติกรรมที่มนุษย์หรือกอริลลามีเท่านั้น หากแต่เป็นพฤติกรรมตามธรรมชาติ โดยเฉพาะในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพศเมียที่มักมีสัญชาตญาณความเป็นแม่อยู่ในตัว นี่ก็เป็นอีกฉากที่ทีมงานพยายามนำเสนอให้เห็นความคล้ายคลึงมนุษย์ของสัตว์ที่มีหลักคุณธรรมจริยธรรม
ความรู้สึกหลังดู
Son of Man: แตกต่างอย่างภูมิใจ
หลังจากเวลาผ่านไปหลายปี ทารกทาร์ซานซึ่งถูกเลี้ยงโดยกอริลลา (ในภาษาอังกฤษเรียกเด็กที่ถูกเลี้ยงโดยสัตว์ว่า Feral Child หรือ Wild Child) ก็ได้เติบโตขึ้นมาเป็นเด็กชายตัวน้อยวัยกำลังซนที่เฝ้าตั้งคำถามเกี่ยวกับความแตกต่างของตัวเองและเพื่อนฝูงกอริลลาอยู่เสมอ ทาร์ซานซึ่งรู้ดีว่า เขานั้น
แตกต่างจากคนอื่น ๆ จึงมักถูกแกล้งและถูกจัดอันดับให้เป็นลูกฝูงอันดับท้ายสุดที่ไม่มีใครยอมรับหรือสนใจเท่าใดนัก ดังนั้น ทาร์ซานจึงได้พยายามที่จะพิสูจน์ตัวเองให้กับเหล่าเพื่อน ๆ และกอริลลาตัวอื่น ๆ ในฝูงอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นวิธีห่าม ๆ ตามประสาเด็กที่ทำให้เกิดปัญหาตามมา เช่น การรับคำท้า
จากเพื่อนที่ท้าทายให้เขาไปเก็บขนช้างมาให้ได้ จนทำให้ฝูงกอริลลาเกือบได้รับความบาดเจ็บ เมื่อทาร์ซานถามคาลาว่า ทำไมเขาถึงต่างจากคนอื่น ๆ แต่คาลาบอกว่า เธอไม่เห็นสิ่งที่แตกต่างเลย พร้อมกับบอกให้เขาค้นหา สิ่งที่เหมือนกันภายในตัวของเธอกับเขา เช่น มีจมูก มีปาก มีสองหู มีสองตา มี
สองมือ มีหัวใจเหมือนกัน นี่ก็เป็นอีกฉากที่ทีมงานได้นำเสนอให้เห็นถึงความเท่าเทียมกันของมนุษย์และสัตว์ และสามารถเชื่อมโยงไปถึงการวิวัฒนาการของมนุษย์และสัตว์ตระกูลวานรที่มีบรรพบุรุษร่วมกันเมื่อหลายล้านปีก่อน พร้อมกันนั้น คาลาได้ย้ำเตือนให้เขาเป็นตัวของตัวเองอย่างมั่นใจและไม่ต้อง
ฟังเสียงของคนอื่น ซึ่งเป็นการสอนให้ทาร์ซานมองการเห็นคุณค่าภายในตัวเองโดยที่ไม่ต้องไปเปรียบเทียบกับคนอื่น
นี่ก็เป็นอีกหนึ่งลักษณะของขนบที่นิยมเติมเข้าไปในภาพยนตร์ของดิสนีย์ ว่าด้วยเรื่องของการเติบโตของความคิดผ่านช่วงวัยที่เปลี่ยนไป (Coming of Age) ซึ่งตัวละครมักประสบกับปัญหาของการปรับตัวและการเรียนรู้คุณค่าในตัวเอง ดูอนิเมะออนไลน์
หรือวิธีที่ชาญฉลาดในตอนที่เขาโตเป็นชายหนุ่มเต็มตัวแล้ว เช่น การสังเกตพฤติกรรมของสัตว์ต่าง ๆ และนำเอามาประยุกต์ใช้กับตัวเขาเอง การใช้เครื่องมือทุ่นแรงเพื่อช่วยล่าสัตว์ หาของป่า หรือป้องกันตัว
หรือใช้สติปัญญาในการแก้ไขปัญหายาก ๆ และซับซ้อน ซึ่งเป็นสิ่งที่เขามีอยู่แล้วตามธรรมชาติ อันเป็นข้อดีของมนุษย์ที่มีสมองส่วนหน้าพัฒนามากกว่าสัตว์ชนิดอื่น ๆ ตามเนื้อเพลง “Son of Man”
นอกจากนี้ ทาร์ซานยังมีดวงตาที่มองเห็นสีสันที่ชัดเจน (ในขณะที่สัตว์ส่วนใหญ่ตาบอดสี) และมีมุมมองที่สามารถจับภาพโฟกัสตรงหน้าได้ดีตามแบบดวงตามนุษย์ทั่วไป เขาจึงสังเกตเห็นเสือดาวซาบอร์ที่พรางตัวอยู่ในป่าได้เร็วก่อนทุกคน
ทาร์ซานฉบับดิสนีย์จึงนับว่า เป็นภาพยนตร์แอนิเมชั่นทรงคุณค่าอีกเรื่องที่ช่วยพูดถึงการเรียนรู้ทำความเข้าใจและการยอมรับในความแตกต่างหลากหลายนั่นเอง