รีวิว The Adventures of Tintin

ฝีมือของผู้กำกับเจ้าของรางวัลออสการ์ สตีเว่น สปีลเบิร์ก และผู้อำนวยการสร้างเจ้าของรางวัลออสการ์ ปีเตอร์ แจ็คสัน สองนักเล่าเรื่องที่เปี่ยมไปด้วยจินตนาการอันบรรเจิดที่สุดในโลกปัจจุบัน กลายมาเป็นภาพยนตร์สามมิติที่เป็นปรากฏการณ์ การผจญภัยอันยิ่งใหญ่เพื่อไขปริศนาที่ถูกเก็บ

ซ่อน เผชิญอาชญากรร้ายที่เป็นภัยคุกคาม และความลับโบราณ ในผลงานที่เป็นการมอบชีวิตให้กับเรื่องการผจญภัยสุดคลาสสิกที่ทำให้คนรุ่นแล้วรุ่นเล่าติดใจใหลหลงไปกับการผสมผสานอย่างลงตัวระหว่างฉากแอ็กชั่น อารมณ์ขัน และเรื่องราวที่เล่าได้อย่างหลักแหลมใน The Adventures of Tintin   อนิเมะ

รีวิว The Adventures of Tintin

ผมรู้สึกทำนองนั้นตอนดู The Polar Express, Beowulf และ A Christmas Carol ที่พี่ Robert Zemeckis พยายามยกระดับงานด้านภาพแบบเต็มที่ ซึ่งภาพก็เนี๊ยบขึ้นตามลำดับ แต่เนี๊ยบยังไงก็เถอะ โจทย์ที่ยากที่สุดกลับไม่ใช่การสร้างภาพอลังการหรืออะไร แต่เป็นโจทย์เดิมๆ นั่นคือ “ยังไงก็

รู้สึกว่าภาพคนตรงหน้าเป็นเพียงลายเส้นหรือกราฟฟิก” จึงยังเร้าอารมณ์ลุ้นให้กับคนดูไม่ใคร่จะขึ้นอีกเช่นเคย และความรู้สึกนั้นก็เกิดกับผมอีกตอนดู The Adventures of Tintin นี่แหละครับ

จริงๆ การผจญภัยของตินติน เป็นเรื่องราวที่คลาสสิคนะครับ เป็นการผจญภัยในหน้ากระดาษที่ผมว่ามีคนยกนิ้วชื่มชมไม่แพ้เรื่องเจ้าชายน้อยเลยล่ะ ตัวเอกก็มีนามว่า ตินติน นักข่าวไฟแรงช่างสังเกตที่ไปไหนมาไหนก็ต้องมีเพื่อนคู่ใจอย่างเจ้าหมาน้อยสโนวี่ไปด้วยเสมอ ซึ่งในตอนนี้ตินตินได้ไป

สะดุดความลับสมบัติ อันนำเขาไปสู่การผจญภัยครั้งใหญ่ เจอทั้งวายร้ายที่หมายจะชิงสมบัติมาเป็นของตน และได้พบกับมิตรซื่อจอมเซ่ออย่างกัปตันแฮดด็อกด้วย

รีวิว The Adventures of Tintin

จุดที่จัดว่าดีมากๆ สำหรับหนังเรื่องนี้ก็หนีไม่พ้นงานโมชั่นแคปเจอร์ (Motion Capture เป็นเทคนิคให้คนแสดงจริงก่อน แล้วจากนั้นค่อยเอามาเป็นภาพให้เป็นการ์ตูนลายเส้นอีกต่อหนึ่ง) อันนี้ไม่เถียงครับว่าเด่นมากในการเนรมิตฉากงามๆ ดูมีเสน่ห์น่าสนใจ แม้แต่ตัวละครในเรื่องก็จัดว่าเนียน

เคลื่อนไหวได้ Work กว่าเรื่องอื่นๆกระนั้นปัญหาเดิมๆ ก็ตามมาหลอกหลอนอีกเช่นเคย นั่นคือการเร้าอารมณ์คนดูให้คล้อยตาม การสร้างอารมณ์ลุ้น ให้คนดูตื่นเต้นไปกับการผจญภัยของตินตินและแฮดด็อก ซึ่งก็ยังไปไม่ถึงจุดหมายอีกเช่นเคย เพราะอย่างที่บอกครับ

ลายเส้นก็ยังเป็นลายเส้น การ์ตูนก็ยังเป็นการ์ตูนในความรู้สึกคนดู ยิ่งตัวการ์ตูนที่ทำให้ดูเหมือนจริงแบบนี้มันกลับทำให้รู้สึกไม่เหมือนจริงมากไปกว่าเดิมผมลองมานั่งนึกดูแล้ว จริงๆ “ความเป็นลายเส้น” อาจไม่ใช่ปัญหานะครับ เพราะการ์ตูนอย่าง โดราเอม่อน, เออิชิ (หรือ คิเทเรตสึ),

ดราก้อนบอลล์ หรือแม้แต่การ์ตูนดิสนี่ย์ยุครุ่งเรืองอย่าง The Lion King, Aladdin, Beauty and The Beast หรือ Mulan เหล่านี้ก็การ์ตูนเหมือนกัน การ์ตูนจ๋าด้วยล่ะเพราะลายเส้นมันพริ้วไหวไปตามจินตนาการคนวาดมากกว่าจะมาอิงกับตัวตนคนจริงๆ แต่ทำไมตอนดูมันถึงให้อารมณ์ลุ้นได้มากกว่าล่ะ?

ส่วนตัวแล้วผมว่าคงเพราะ “ตัวการ์ตูน” เหล่านั้นทำให้เรารู้สึกว่าพวกเขามีเลือดเนื้อจริงมีจังได้มากกว่า “ตัวการ์ตูนที่เกิดจากเทคนิคโมชั่นแคปเจอร์” แบบสมัยใหม่

ผมว่าเราทุกคนที่เคยเป็นเด็กมาก่อนย่อมรู้สึกผูกพันกับตัวการ์ตูนสไตล์เดิมๆ ความมีชีวิตของการ์ตูนเหล่านั้นมันสอดแทรกอยู่ในความรู้สึกของเรา อันทำให้เรารู้สึกว่าตัวการ์ตูนพวกนั้นเป็นเสมือนสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งไม่ได้มีชีวิตในโลกจริงๆ แต่มีลมหายใจและชีวิตชีวาอยู่ในความทรงจำของเรา

รีวิว The Adventures of Tintin
รีวิว The Adventures of Tintin

รีวิว The Adventures of Tintin

ตัวการ์ตูนที่ไม่ได้อิงคนจริงนั้นมันง่ายครับที่เราจะคล้อยตาม เพราะมันมีชีวิตอยู่ในจินตนาการของเรา รูปแบบการแสดงออกของมันก็สุดแท้แต่คนสร้างจะกำหนด เช่นจะให้ตาโตแค่ไหนก็ได้ ลิ้นจะยืดยาวแค่ไหนก็ได้ มือไม้เป็นปลาหมึกตอนตื่นเต้นก็ได้ สมองเราพอจะมองข้ามความสมจริงไปได้

เพราะเรารับรู้เสมอว่าพวกเขาคือ “ตัวการ์ตูน” คือนักแสดงอีกชนิดหนึ่งที่ไม่ได้อยู่ในกฎกรอบเกณฑ์ของความเป็นมนุษย์แต่ในทางกลับกันตัวการ์ตูนยุคหลังๆ พยายามทำให้เหมือนคนมากขึ้น ถึงขั้นเอาคนแสดงจริงก่อนทำการแคปเจอร์อีกที แต่พอการ์ตูนใกล้กับคนจริงมากเท่าไร เราก็จะอดไม่ได้ที่จะสัมผัสถึง “ความไม่ใช่คน” ในพวกตัวการ์ตูนเหล่านั้น

ถ้าตินตินเป็นตัวการ์ตูนดั้งเดิมแบบให้หนังสือหรือซีรีส์การ์ตูนสมัยเก่า เราจะยอมรับได้ไม่ยากกับหน้าตาโมโนโทน ดวงตามีเพียงจุดเล็กๆ เวลาสงสัยอะไรทีก็ขีดให้คิ้วของตินตินขมวดเข้าหากัน หรือการแสดงความตกใจด้วยการอ้าปากหวอๆ แค่นี้ก็สื่ออารมณ์ได้ชัดเจน แต่พอตินตินฉบับนี้ถูก

สร้างขึ้นด้วยความพยายามและความตั้งใจอันดีที่จะทำให้คนดูรู้สึกว่าตินตินเจ้านี้ใกล้เคียงกับคนจริง ทว่าก็ต้องยอมรับครับว่าทำยังไงมันก็ไม่เหมือนคนได้หมดหรอก เอาแค่แววตาก็ไม่ใช่แล้ว  อนิเมะออนไลน์

รีวิว The Adventures of Tintin

ความรู้สึกหลังดู

ไปๆ มาๆ ผมว่าการแสดงออกทางอารมณ์ของตัวการ์ตูนแบบเดิมๆ นั้นทำได้ง่ายกว่าเยอะครับ เพราะพวกเขาจะแหกลิ้นปลิ้นตา โอเวอร์ขนาดไหนเราก็รับได้ แล้วยังรับรู้อารมณ์ได้แบบชัดๆ ด้วย แต่กับแบบโมชั่นแคปเจอร์นี่ จะโอเวอร์มากก็ไม่ได้ ครั้นจะทำให้ใกล้เคียงมนุษย์แค่ไหน มันก็ยังไม่

ถึงระดับสมจริงอยู่ดีเลยกลับมาที่ปัญหาใหญ่ของหนังซึ่งก็คือ แม้งานภาพจะเนี๊ยบ งานสร้างตัวละครจะ Work กว่าเรื่องอื่นๆ แต่ยังไงก็อดรู้สึกขัดๆ กับการเคลื่อนไหว แววตา ท่าทางที่มีแอบกระตุกทางอารมณ์เป็นพักๆ ส่วนตัวละครที่พอจะบอกได้ว่ามีมิติมากที่สุดคงต้องยกให้กัปตันแฮดด็อก ที่

ได้พี่ Andy Serkis แกขยับปากหน้าท่าทางให้ค่อนข้างได้อารมณ์ที่สุดในบรรดาตัวละครที่ขึ้นจอทั้งหมด (รายนี้น่ะมืออาชีพมาตั้งแต่สมัยกอลลั่มแล้วล่ะครับ)

ผมเลยออกจะเห็นใจเฮีย Steven Spielberg น่ะครับ การจะดึงอารมณ์ร่วมคนดูในหนังแบบนี้มันหินนะ และกับเรื่องนี้ก็ต้องว่ากันตรงๆ ว่ายังทำไม่สำเร็จ จนผมเองยังแปลกใจเลย เพราะตอนดูนั้นกลับไม่รู้สึกลุ้นอะไร ไม่เร้าใจ ไม่มีอารมณ์ร่วม จนดูจบแล้วก็นั่งอารมณ์นิ่งอยู่เท่าเดิม

มาคิดๆ ดู ตอนนี้ผมอยากเดินไปบอกเฮียแกนะครับว่า “เฮียครับ ทำเป็นฉบับคนเล่นจริงแบบ Indiana Jones ไปเลยดีไหมครับ ไหนๆ ก็ต้องจ่างคนจริงมาแสดงให้คอมมันแคปเจอร์อยู่แล้วนี่ หรือไม่ก็ไปจับมือกับ Pixar ทำให้มันเป็นการ์ตูน แบบ The Incredibles, Ratatouille หรือ Up ก็ได้ ไม่ต้องไปแคปเจอร์แคปหมูแบบนั้นจะไม่ดีกว่าหรือครับ”   ดูอนิเมะออนไลน์

และจุดแปลกใจต่อมาก็คือเนื้อเรื่องที่ไม่ยักกะเข้มข้น ทั้งที่เรื่องราวเป็นการผจญภัยที่ใหญ่อยู่นะครับเพราะไปทั่วเลย ทั้งในเมือง ข้างเขื่อน กลางทะเล บนฟ้า ทะเลทราย ฯลฯ แต่รสชาติการผจญภัยกลับนิ่งเกินคาด การเล่าตำนานสมบัติก็ไม่ถึงกับจับใจคนดู ไม่ชวนให้เราตื่นเต้นจนอยากโดดลง

ไปร่วมค้นขุมทรัพย์ด้วย ไม่เหมือนกับพวก Indiana Jones, The Da Vinci Code หรือ National Treasure ที่บอกเล่าได้เร้าอารมณ์จนน่าติดตาม ซึ่งเทคนิคการเล่าให้คนจินตนาการต่อนั้นจะช่วยให้เราสนุกไปกับหนัง เพลินไปกับการตามปมได้มากทีเดียว แต่กับเรื่องนี้ร่องรอยสมบัติหรือการ

ผจญภัยกลับไม่ออกรสเท่าที่ควรถ้าให้เทียบ ผมยังชอบพวก โดราเอมอน ตอนพิเศษมากกว่าเลยน่ะครับ เวลาเล่าตำนานอย่างตอนบุกสามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า, บุกป่าอเมซอน อะไรเทือกนั้นยังเร้าอารมณ์ได้กว่าตั้งเยอะ

แต่ถ้าถามว่าหนังเลวร้ายไหมก็ไม่ขนาดนั้นหรอกครับ แหม มีทั้ง Spielberg, Peter Jackson (มาอำนวยการสร้าง) และ Edgar Wright (คนนี้มาดัดแปลงบท) มาร่วมงานกันยังไงมันก็โอเคในระดับหนึ่งล่ะครับ แต่ความสนุกมันอาจจะไม่มาก ทั้งที่วิธีการเล่าเรื่องก็ยังคงเป็นแบบ Spielberg นั่น

คือเกริ่นตอนต้นเกลี่ยบทให้พอรู้จัก แล้วพอออกตัวเข้าเรื่องปุ๊บหนังก็เดินต่อเนื่องแบบไม่ยั้ง สไตล์หนังรถไฟเหาะ หรือ Rollercoaster ไงล่ะครับ เริ่มช้าๆ ไต่ระดับนิดๆ แต่พอถึงยอดปุ๊บทีนี้ล่ะยาวเลย แต่ก็น่าเสียดายล่ะครับ ที่แม้จะเล่าแบบนั้นแต่ความลุ้นความน่าติดตามกลับธรรมดา ขนาดตอนจบที่จบแบบทิ้งเชื้อ ยังเป็นการทิ้งที่นิ่งเกินคาดเลยน่ะครับ

ส่วนทีมงานเจ้าอื่นๆ ก็มือระดับตำนานทั้งนั้นล่ะครับ อย่าง John Williams คอมโพเซอร์คู่บุญก็มาช่วยทำดนตรี Michael Kahn มาช่วยตัดต่อ ซึ่งก็นับว่ายังดีครับที่หนังมีฐานคนทำที่แข็งเลยช่วยพยุงหนังเอาไว้ได้แต่คิดว่าก็คงมีตอนต่อนั่นแหละ เพราะรายได้รวมทั่วโลกก็ตั้งเกือบ 400 ล้าน

เหรียญ ก็หวังน่ะครับว่าภาคต่อไปตินตินจะออกมาผจญภัยอีกสักรอบ แต่เอาให้คนดูรัก คนดูชอบ ดึงเอาเสน่ห์ชีวิตชีวาแบบตินตินให้มีมากขึ้น ดึงอารมณ์ร่วมคนดูให้ไหลมาเทมามากกว่านี้เยอะๆ หนังก็น่าจะยอดเยี่ยมเยอะขึ้นอีกได้น่ะครับ

ชื่อภาพยนตร์ : The Adventures of Tintin / การผจญภัยของตินติน
อำนวยการสร้างภาพยนตร์ : Peter Jackson
ผู้กำกับภาพยนตร์ : Steven Spielberg
ผู้เขียนบทภาพยนตร์ : Steven Moffat (screenplay), Edgar Wright (screenplay), Joe Cornish (screenplay), Hergé (comic book series “The Adventures of Tintin”)
นักแสดงนำ : Jamie Bell, Andy Serkis, Daniel Craig, Simon Pegg, Nick Frost, Mackenzie Crook
แนว/ประเภท : Animation, Action, Adventure, Family, Mystery
เรท : USA/PG , ไทย/ท
ความยาว : 107 นาที
ประเทศ : USA
ผู้สร้าง/ผู้จัดจำหน่าย : Columbia Pictures, Paramount Pictures, Amblin Entertainment, Nickelodeon Movies, U
วันที่เข้าฉายในประเทศไทย : 29 ธันวาคม 2554

รีวิวการ์ตูนอนิเมะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *