รีวิว The Tale of Princess Kaguya (2013)
สวัสดีจ้าวันนี้แอดจะมารีวิวอนิเมะ The Tale of Princess Kaguya (2013) ตำนานเจ้าหญิงกระบอกไม้ไผ่ เรื่องราวชีวิตของคางุยะที่ถูกกำหนดโดยผู้อื่น ภาพยนตร์ที่บอกเล่าถึงความต้องการสูงสุดของมนุษย์และกิเลสด้วยศิลปะด้านภาพที่ตรึงตา
เรื่องราวเริ่มต้นจากชายชราขายไผ่ที่พบเด็กผู้หญิงตัวเท่าฝ่ามืออยู่ในหน่อไม้ เขาคิดว่าเด็กหญิงคือเจ้าหญิงและเป็นของขวัญที่สวรรค์ส่งมาให้ ทันใดนั้นเองเด็กหญิงก็ได้กลายเป็นเด็กทารกและเติบโตอย่างรวดเร็ว เมื่อชายขายไผ่เข้าป่าไผ่อีกครั้งเขาก็ได้เสื้อผ้าอาภรที่สวยงามพร้อมกับทองคำจำนวนมากจากปล้องไผ่ ทำให้เขาคิดว่าควรสร้างฐานะและพาคางุยะเข้าไปอยู่ในเมืองให้สมกับการเป็นเจ้าหญิงให้สมกับสิ่งที่สวรรค์ต้องการโดยหารู้เลยว่าคางุยะจะต้องพบเจอกับความเจ็บปวดใจ
The Tale of Princess Kaguya (2013) อนิเมะจากสตูดิโอจิบลิ (Studio Ghibli) ที่ถูกดัดแปลงจากตำนานพื้นบ้านของประเทศญี่ปุ่นในสมัยศตวรรษที่ 10 ซึ่งฉบับอนิเมะนั้นก็ดำเนินเรื่องราวและมีโครงเรื่องตามตำนาน ส่วนที่แตกต่างก็คงเป็นตัวละครและเนื้อเรื่องบางส่วนที่เสริมเข้ามา อนิเมะผู้ชาย
เป็นอนิเมะที่ถึงแม้จะเก่าแล้วแต่ในเรื่องของงานภาพไม่ได้เก่าตาม โยงานภาพจะแตกต่างจากอนิเมะเรื่องอื่นของทางสตูดิโอ เพราะในเรื่องนี้ใช้เทคนิคสีน้ำ ซึ่งทำให้ภาพดูละมุนและน่าค้นหามากขึ้น หลังจากดูจบก็พบว่ามีความรู้สึกที่หลากหลายปนกัน ทั้งความสงสัยในสัญลักษณ์ที่ปลายเปิดสามารถคิดและเชื่อมโยงไปทางไหนก็ได้
รวมไปถึงตอนจบที่ทำให้รู้สึกสับสนกับสิ่งที่เรียกว่า “ความสุข” กับ “เป้าหมายชีวิต” ที่ผู้คนบนโลกทุ่มเทพยายามอย่างหนักในการไขว่คว้าและค้นหาเพื่อที่จะมีและบรรลุในสิ่งเหล่านี้
ในส่วนของงานภาพและดนตรีประกอบ มองว่าทำออกมาได้ดี ทั้งภาพและลายเส้นที่ดูเรียบง่าย สีที่ทำให้มู้ดและโทนสามารถสื่อถึงเรื่องราว อารมณ์และความรู้สึกได้ดี เพลงประกอบที่ฟังแล้วสบายใจและมีความลุ่มลึกตามแบบฉบับของอนิเมะ
ช่วงแรกของอนิเมะจะเป็นการปูเรื่องราวเกี่ยวกับตัวตนจริง ๆ ของคางุยะและครอบครัวที่เลี้ยงเธอมา จากนั้นเมื่อชายชราได้ทองจำนวนมากจากต้นไผ่ เขาจึงนำทองเหล่านั้นไปขายและตั้งใจจะพาตัวคางุยะไปในเมืองเพื่อที่จะทำให้เธอใช้ชีวิตสมกับเป็นเจ้าหญิงที่สูงศักดิ์ ซึ่งคางุยะได้พบกับความเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ อย่าง
เช่น ระเบียบที่เคร่งครัดทั้งในเรื่องของการอบรมมารยาท การแต่งตัวและการใช้ชีวิต แม้เธอจะรู้สึกตื่นเต้นกับสิ่งของสวยงามและบ้านหลังใหญ่ในช่วงแรก แต่ต่อมาเธอก็ค้นพบว่าเธอไม่ได้เป็นตัวของตัวเองเลย สระน้ำหน้าบ้านก็ลงไปว่ายเล่นไม่ได้ แม้แต่จะวิ่งในบ้านก็ยังทำไม่ได้
เธอทำหลาย ๆ สิ่งที่เธอต้องการทำไม่ได้ ไม่เหมือนกับตอนที่เธออยู่ในป่าเขา ที่นั่นเธอจะรู้สึกเป็นตัวเองและมีความสุขมากกว่านี้ มีฉากหนึ่งที่คางุยะมองไปยังนกที่เกาะบนต้นไม้ ในขณะนั้นเธอเองก็คงคิดว่า “เป็นนกนี่มีอิสระดีจังเลย”
“ หมุน หมุน หมุนวนไป กังหัน หมุนวนไป แล้วเรียกท่านพระอาทิตย์ หมุนวนไป แล้วเรียกท่านพระอาทิตย์ นำพาฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง ฤดูหนาว ผลัดเวียนกันไป หมุนวนไป หมุนเวียนมา หมุนเวียนมา เรียกคืนใจฉัน หมุนเวียนมา เรียกคืนใจฉัน นกน้อย แมลง สัตว์น้อยใหญ่ ใบหญ้า ต้นไม้ ดอกไม้ สอนข้าว่าควรรู้สึกเช่นไร หากข้าได้ยินเจ้าคร่ำครวญหาข้า ข้าจะหวนคืนสู่เจ้า”
ในฉากที่เพื่อน ๆ และคางุยะได้ร้องเพลงพื้นบ้านอย่างมีความสุขในขณะที่เดินทางไปยังหมู่บ้านของซูเตมารุ คางุยะก็ได้ร้องท่อนที่แตกต่างจากเพลงที่เพื่อน ๆ ร้องออกมา จากนั้นเธอก็เหม่อมองไปข้างหน้าและร้องไห้ออกมา ตรงจุดนี้อาจคาดคะเนได้ว่าเธอกำลังระลึกถึง “บ้านเกิด” ของเธอจริง ๆ ที่ที่เธอจากมา โดยที่เธอเองก็ระลึกถึงโดยไม่รู้ตัว ดังบทสนทนาระหว่างเธอกับซูเตมารุ
ในช่วงกลางเรื่องพ่อของเธอก็ได้จัดพิธีฉลองชื่อที่ยิ่งใหญ่ เขาเชิญแขกมามากมาย ทั้ง ๆ ที่เป็นงานเฉลิมฉลองที่จัดขึ้นให้คางุยะ แต่เธอกลับทำได้เพียงนั่งอยู่เฉย ๆ ท่ามกลางแขกมากมายที่ดื่มและกินกันอย่างสนุกสนาน งานได้ดำเนินไปถึงสามวันสามคืน จากนั้นแขกที่มาร่วมงานก็ขอพบหน้าคางุยะ
พ่อของเธอจึงบอกว่ามันผิดธรรมเนียม แขกก็เลยพูดว่า ธรรมเนียมมีไว้สำหรับเจ้าหญิงที่สูงศักดิ์จริง ๆ แต่เธอไม่ใช่ อีกทั้งหน้าจาอาจจะขี้เหร่ก็ได้ อาจจะไม่ได้สวยเหมือนอย่างที่ร่ำลือกัน เมื่อคางุยะได้ฟังคำดูถูกเหล่านั้นเธอก็รู้สึกเจ็บปวด เธอจึงวิ่งหนีกลับป่าที่เป็นบ้านเกิดของเธอ ซึ่งฉากนี้สามารถสื่อถึงความเจ็บปวดในการเติบโตขึ้นได้เป็นอย่างดี เพราะเมื่อเราเติบโตเราก็ต่างมีภารกิจและหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ ต้องเผชิญกับเรื่องราวที่ไม่เป็นไปตามที่หวัง
รีวิว The Tale of Princess Kaguya (2013)
ในฉากที่คางุยะวิ่งหนีกลับบ้านเกิด เธอก็พบว่าป่าที่นี่ไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว ต้นไม้หายไป สภาพป่าดูแห้งแล้ง เมื่อเธอถามถึงชาวบ้านกับชายก่อฟืน เขาก็บอกว่าชาวบ้านที่เคยอยู่ในหมู่บ้านได้อพยพเดินทางไปที่อื่น เพราะพวกเขาตัดไม้จนทำให้ภูเขาโล่ง ธรรมชาติไม่ได้อุดมสมบูรณ์เหมือนเดิม
และพวกเขาจะไม่กลับมาที่นี่อีกจนกว่าจะครบสิบปีเพื่อให้ป่าได้ฟื้นตัว ซึ่งฉากนี้เป็นการสอดแทรกข้อคิดเกี่ยวกับเรื่องอนุรักษ์ธรรมชาติ เมื่อคางุยะไม่ได้พบกับสิ่งที่เธอหวัง เธอก็เติบโตขึ้นและเผชิญหน้ากับความจริงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ความจริงที่ว่าก็คือการที่เธอต้องตั้งใจเรียนการเป็นกุลสตรีที่ดี
การประพฤติตัวให้เหมาะสมกับการเป็นเจ้าหญิงที่สูงศักดิ์และทำทุกสิ่งที่เธอต่อต้านในตอนแรก ซึ่งเธอทำเพราะเป็นหน้าที่ไม่ใช่ด้วยความเต็มใจ เธอจึงมีบุคลิกที่ซึมเศร้า ดูเป็นทุกข์และเงียบขรึมกว่าเดิม
“เจ้าหญิงต้องแต่งงานกับชายหนุ่มที่คู่ควรโดยเร็วที่สุด เพียงแค่นั้นก็มีความสุขแล้ว”
พี่เลี้ยงพูดกับคางุยะราวกับว่าการแต่งงานคือหน้าที่อย่างหนึ่ง ทั้ง ๆ ที่เจ้าหญิงก็สามารถทำทุกอย่างที่เธอต้องการได้เช่นเดียวกับผู้ชาย แต่ด้วยกรอบและสิ่งที่เป็นอยู่จึงทำให้ทุกคนตั้งความหวังกับเธอและคิดว่าเธอจะเป็นไปตามครรลองของสังคม
“เราขอให้พวกท่านนำสมบัติล้ำค่าที่ท่านพูดถึงมาให้เรา เมื่อนั้นเราจะสามารถประจักษ์แจ้งในใจได้ว่าท่านเห็นคุณค่าของเรามากน้อยเพียงใด”
คางุยะได้ขอให้เจ้าชายและเสนาบดีทั้งห้าที่มาสู่ขอเธอให้ไปหาสมบัติที่นำมาเปรียบเปรยกับเธอ เพราะทุกคนนำคุณค่าของเธอไปเปรียบกับสมบัติที่อาจไม่มีอยู่จริงและอาจเห็นเธอเป็นเพียงสมบัติล้ำค่าชิ้นหนึ่งเท่านั้น ทั้ง ๆ ที่เธอก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งที่ไม่ได้เป็นสมบัติของใครทั้งสิ้น เธอจึงขอในเชิงออกอุบายว่าให้ไปหาสิ่งเหล่านั้นมา
หลังจากนั้นสามปี เธอก็ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายในบ้าน โดยเธอทำสวน ปลูกผักและใช้ชีวิตแบบเดิม ๆ เหมือนอย่างที่เคยเป็น จากนั้นเจ้าชายและเสนาบดีทั้งห้าก็ทยอยมาหาพร้อมนำสมบัติล้ำค่าที่ว่ามาให้ บางคนก็นำของปลอมที่สั่งทำขึ้นมาให้ บางคนก็ตายหรือไม่ก็เป็นบ้า
โดยชายที่น่าจะน่าสนใจที่สุดในบรรดาชายทั้งหมด คือชายที่นำดอกไม้มาให้คางุยะและบอกว่า “สิ่งที่เธอต้องการนั้นคือความทุ่มเทและความรักอย่างแท้จริง” โดยเขาได้สาธยายถึงความรู้สึกที่มีต่อเธอและกล่าวว่าจะพาเธอไปใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายให้เหมือนกับต้นไม้ ดอกไม้ ภูเขา ที่ที่จะหัวเราะ ร้องเพลงและนอนหลับอย่างเป็นสุข
โดยไม่ต้องสนใจพิธีรีตอง แต่แล้วเธอก็พบว่าชายคนนั้นได้สนใจแค่เพียงหน้าตาที่สวยตามคำร่ำลือของเธอเท่านั้นไม่ได้สนใจถึงความเป็นเธอเลย
หลังจากนั้นเมื่อองค์จักรพรรดิได้ยินคำร่ำลือถึงความสวยของคางุยะและเรื่องที่เธอปั่นหัวขุนนางทั้งห้า พระองค์จึงประสงค์ที่จะให้คางุยะมาเป็นสนม แต่เธอปฏิเสธ พระองค์จึงมาหาเธอที่บ้านและได้ทำการล่วงเกินเธอโดยการสวมกอด เธอไม่พอใจอย่างมาก คางุยะจึงหายตัวเพื่อให้พ้นจากองจักรพรรดิ จากนั้นองค์จักรพรรดิจึงยอมแพ้เพราะเธอไม่ใช่คนธรรมดา จากนั้นเธอเธอเอาแต่มองพระจันทร์และรู้สึกซึมเศร้ามากกว่าเดิม และเธอก็ได้บอกครอบครัวว่า เธอไม่อยากกลับไปที่ดวงจันทร์
ความรู้สึกหลังดู
แอนิเมชั่นเรื่องนี้เข้าฉายในญี่ปุ่นตั้งแต่เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2556 ได้ชื่อไทยเป็น ‘เจ้าหญิงกระบอกไม้ไผ่’ เป็นเรื่องราวที่ดัดแปลงมาจาก ตำนานคนตัดไผ่ หรือ ตำนานเจ้าหญิงคางุยะ ซึ่งเป็นตำนานพื้นบ้านที่เก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่น แน่นอนว่า ถ้าเราไม่ใช่คนญี่ปุ่น ไม่ได้รับรู้ในตำนานเรื่องนี้มากนัก ดูแอนิเมชั่นเรื่องนี้แล้วก็อาจจะมีงงๆ กันไปบ้าง ขนาดผมก็ยังไม่เว้น
‘เจ้าหญิงกระบอกไม้ไผ่’ บอกเล่าถึงครอบครัวคนตัดไผ่ครอบครัวหนึ่งที่บังเอิญได้ไปพบกับเจ้าหญิงองค์น้อยที่อยู่ในหน่อไม้ที่ผุดขึ้นมาจากดิน จึงคิดจะเก็บมาเลี้ยงดูเป็นลูก แต่ร่างกายที่เป็นเจ้าหญิงองค์น้อยๆ กลับกลายเป็นเด็กทารกขนาดปกติของมนุษย์ และเติบโตเร็วอย่างเหลือเชื่อ วัยรุ่นผ่านเข้ามาอย่างไว เธอมีเพื่อนกลุ่มหนึ่งที่เล่นด้วยกันมาโดยที่ไม่รู้เลยว่า สักวันหนึ่งจะต้องห่างจากกันไกล
แต่แล้วเมื่อคนตัดไผ่ร่ำรวยขึ้นมา ก็เริ่มที่จะจัดองค์ทรงเครื่องให้กับลูกสาว สร้างวังหลังใหญ่ในเมืองหลวง จัดพิธีตั้งชื่อให้ว่า ‘เจ้าหญิงคางุยะ’ ความสวยงามลือเลื่องพาชายมากหน้าหลายตามาขอดูตัวหวังได้ร่วมหอ ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ที่คางุยะต้องรับมือ พร้อมๆ กับมีบางอย่างที่หนังไม่เปิดเผยกับเรามาก่อน ยิ่งถ้าไม่เคยได้ยินตำนานมา ก็ยิ่งเป็นเซอร์ไพรซ์
ลายเส้นของ ‘เจ้าหญิงกระบอกไม้ไผ่’ ช่างโดดเด่น เพราะมันเป็นเหมือนภาพวาดประกอบหนังสืออ่านสำหรับเด็ก รายละเอียดไม่ต้องสูง แต่งแต้มระบายด้วยสีน้ำ เมื่อสร้างเป็นภาพเคลื่อนไหว มันให้ความสวยงามได้อย่างไม่น่าเชื่อ ขณะที่เมื่อตัวละครเปลี่ยนอารมณ์ ลายเส้นก็ปรับเปลี่ยนตามไปด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นเทคนิคที่ทากาฮาตะเคยใช้ในแอนิเมชั่นหลายเรื่องของเขา
ดูเหมือนอะนิเมะเรื่องนี้จะมีอะไรหลายๆ อย่างที่บอกเล่าให้เรารู้ แต่ก็มีสาส์นบางอย่างที่หนักแน่นพอจะไม่ทำให้เรื่องเขวไปทางไหนได้ เจ้าหญิงคางุยะ ตัวเธอเองก็อาจรับไม่ได้กับ “ความปลอม” ของสถานะเจ้าหญิงของตน แม้หน้าตาสดสวยจะเป็นของจริง ความปลอมมักดึงดูดสิ่งปลอมๆ ให้เข้ามาหา เพราะว่าคนใส่ใจสนใจในสิ่งปลอมๆ อันเป็นเปลือกนอกเหล่านั้น หากแต่ความรู้สึกนี่สิ มันคงจะเป็น “ความจริง” นอกจากนี้ เธอยังมี “ความปลอม” ในลักษณะอย่างอื่นอยู่ด้วยและมันก็ได้ถูกนำมาเฉลยในตอนจบ
ช่วงท้ายของหนังเล่าเรื่องได้เศร้าซึมกินใจคนดูยิ่งนัก แต่ก็ต้องเป็นคนดูที่รู้จักตำนานนี้มาพอสมควร อาจทำให้คุณถึงกับน้ำตาไหลรินได้เลยทีเดียว แต่ผมพบว่า บางส่วนยังเล่าแล้วดูแปลกๆ อยู่ แม้ภาพจะสดสวยเพียงใดก็ตาม
ชื่อภาพยนตร์: The Tale of the Princess Kaguya / เจ้าหญิงกระบอกไม้ไผ่ / The Tale of the Bamboo Cutter
ผู้กำกับภาพยนตร์: Isao Takahata
ผู้เขียนบทภาพยนตร์: Isao Takahata (story), Isao Takahata (screenplay), Riko Sakaguchi (screenplay), Mike Jones (english version)
นักแสดงนำ(พากย์อังกฤษ): Chloë Grace Moretz, James Caan, Mary Steenburgen
นักแสดงนำ(พากย์ญี่ปุ่น): อากิ อาซากุระ, อิซาโอะ ฮาชิซูเมะ, ทาคายะ คามิกาวะ, โทโมโกะ ทาบาตะ
แนว/ประเภท: Animation, Drama, Fantasy
ความยาว: 137 นาที
เรท: ไทย/ , USA/PG
สัดส่วนภาพ: 1.85 : 1
วันเข้าฉายในประเทศไทย: 26 ตุลาคม 2557 ในเทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพ ครั้งที่ 12
วันเข้าฉายในประเทศไทย: 25 ธันวาคม 2557
ผู้ผลิต/ผู้จัดจำหน่าย/สตูดิโอ: Studio Ghibli
เจ้าหญิงกระบอกไม้ไผ่