รีวิว The Witcher – Nightmare of the Wolf
โลกแห่งแอนิเมชั่นแฟนตาซีของThe Witcher: Nightmare of the Wolf รู้สึกเหมือนติดอยู่ในภาพยนตร์ความยาว 83 นาที ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการมองว่าเป็นอนิเมะดั้งเดิมของ Netflix เป็นเรื่องที่น่ารัก—คำจำกัดความที่เข้มงวดของ “อนิเมะ” กำลังขยายออกไป โดยนำไปใช้กับงานของบริษัทแอนิเมชั่นในเกาหลีใต้
เท่าที่การแสดงสีสันและการเคลื่อนไหวของ Studio Mir จะทำให้ดวงตาดูน่าพึงพอใจเช่นเดียวกับในLegend of KorraและKipo และ Age of Wonderbeastsภารกิจของเรื่องนี้ก็หายไปในหมอกควัน
ผู้สร้างและเขียนบทโดยBeau DeMayo นักเขียนทีมงานของWitcher , Nightmare of the Wolfมุ่งเน้นไปที่ Vesemir ที่ปรึกษาของดาราในซีรีส์ Netflix, Geralt เวเซเมียร์ตรงกันข้ามกับ Geralt ที่ไม่พอใจเล็กน้อยที่เล่นโดย Henry Cavill ที่สกปรกและสกปรก
ผู้ชายที่จะมาเป็นครูของ Geralt เป็นคนประเภท Casanova ที่ขี้ใจน้อย เป็นพวกนอกศาสนาที่ชอบนอน กิน และดื่มมากกว่าตอนที่เขาไม่ได้ฆ่าสัตว์เพื่อแลกกับเหรียญ ธีโอ เจมส์ ซึ่งกลับมารับบทนี้อีกครั้งหลังจากพากย์เสียงเพียงบรรทัดเดียวในรายการคนแสดง คือเฮ็กเตอร์ของCastlevaniaให้เสียงพากย์แทนเทรเวอร์ เบลมอนต์ (Kim Bodnia จะเล่น Vesemir ในฤดูกาลที่สองของThe Witcher )
ดินแดนของเวเซเมียร์เต็มไปด้วยความตึงเครียดระหว่างมนุษย์กับแม่มด เผ่าพันธุ์หลังนี้ได้รับการออกแบบอย่างน่าอัศจรรย์จากการทดลองกับเด็กของมนุษย์ที่เรียกว่า “การเล่นแร่แปรธาตุกลายพันธุ์” ตามที่เรียกกัน แม่มดและวิถีของทหารรับจ้างไม่ได้รับการต้อนรับอย่างดีในสังคม
แม้ว่าคนในพื้นที่ต้องการความเชี่ยวชาญพิเศษด้านสัตว์ป่า และไม่ได้ช่วยให้เวเซมีร์ปฏิเสธที่จะให้ภาพโรแมนติกของทหารรับจ้างที่ช่วยชีวิตวันนั้น หลังจากที่เขาสังหารเลเชนแล้ว เขาก็รวบรวมทองและเงินจากเหยื่อการฆ่าของสัตว์ประหลาดอย่างไม่มีศีลธรรม
และมัดเด็กที่รอดชีวิตให้คนเดินผ่านไปมา ความไม่แยแสของ Vesemir ทำให้เกิดการเล่าเรื่องต่อสาธารณะว่า Witchers นั้นผิดศีลธรรม
ใครจะคิดว่าแฟรนไชส์ที่ดัดแปลงจากนิยายขายดีของโปแลนด์อย่าง The Witcher จะก้าวมาไกลได้ขนาดนี้ จากวันที่โด่งดังเพียงแค่ในประเทศ สู่เนื้อหาที่คนทั่วโลกยอมรับ ให้เป็นหนึ่งใน Pop Culture ของชาว Geek อย่างเรา ๆ ไม่ต่างจากแฟรนไชส์อื่น ๆ ที่ได้รับความนิยมก่อนหน้า
และถึงแม้พวกเขาจะมีวิดีโอเกม วรรณกรรม ซีรีส์ แต่เรื่องราวภายในจักรวาลของ The Witcher ส่วนใหญ่ ยังไม่ถูกเล่าในรูปแบบที่แพร่หลายนัก ทำให้แฟน ๆ ต่างกระหายใคร่รู้เรื่องราวต่าง ๆ ที่อยู่ในช่องว่างเหล่านั้น และคาดหวังจะเห็นมันสักครั้งด้วยตาตัวเอง อาจเพราะต้องการสร้างความเข้าใจให้มากขึ้น เพื่อจะให้รู้สึก ‘เข้าถึง’ แฟรนไชส์นี้มากกว่าที่เคย
เราอาจจะเห็น Geralt ตัวเอกของเรื่องราวมาหลายครั้งหลายหน นับตั้งแต่ The Witcher วิดีโอเกมภาคแรกวางจำหน่าย นิสัยใจคอของ Geralt ถูกสะท้อนให้เห็นออกมาอย่างเด่นชัดในเกมสามภาค ก่อนจะกลายเป็นตัวละครที่จับต้องได้ในซีรีส์ของทาง Netflix
แต่แฟน ๆ รู้ดีว่าประวัติศาสตร์ และช่องว่างที่พวกเขาอยากรู้ไม่ได้อยู่เพียงแค่ในตัว Geralt พวกเขาอยากรู้ว่าโลกภายในของ The Witcher ดำเนินมาอย่างไร เกิดอะไรขึ้นถึงกลายเป็นแบบนี้ได้ และ The Witcher: Nightmare of the Wolf คือเรื่องราวที่จะมาไขความกระจ่างในช่องว่างเหล่านั้น
The Witcher: Nightmare of the Wolf คือเรื่องราวที่หมุนรอบตัว Vesemir ปรมจารย์ Witcher ผู้เป็นอาจารย์ให้กับ Geralt และกำลังจะมีบทบาทในซีรีส์ซีซันถัดไปที่จะถึงนี้ โดยเรื่องราวจะเล่าย้อนไปหลายปีก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ในซีรีส์
นี่นับว่าเป็นครั้งแรกที่เราจะได้เรียนรู้เรื่องราวของ Vesemir อย่างเจาะลึก หลังวิดีโอเกม และวรรณกรรม ทำได้เพียงเอื้อมมือไปแตะเพียงเล็กน้อย แต่ไม่ได้แตะมันตรง ๆ เหมือนครั้งนี้
คุณจะได้เห็นเรื่องราวของโลกก่อนที่เรื่องราวของ Geralt จะเริ่มขึ้น โดยมี Vesemir เป็นผู้นำทาง แก่นหลักของเรื่องจะค่อนข้างวนอยู่รอบตัว Vesemir ตั้งแต่เรื่องราวในตอนเป็นเด็ก เรื่องราวตอนเป็นวัยรุ่น ทุก ๆ อย่างจะเล่าแบบ Step by Step
เราจะเห็นเขาเติบโตจากเด็กหนุ่มผู้ไม่มีอะไรเลย ผ่านความยากลำบากจนกลายมาเป็นนักล่าปีศาจแห่งยุค เรียนรู้ว่าอะไรผลักดันเขาจนมาอยู่ในจุดนี้ ก่อนจะแนะนำเขาในฐานะตัวละครใหม่ของ The Witcher Season 2
นอกจากชีวิตของ Vesemir สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าแฟน ๆ อยากจะรู้ และเข้าใจ คือเรื่องราวเบื้องหลังของโลกใบนี้ ใน The Witcher: Nightmare of the Wolf มีการแทรกเรื่องราวต่าง ๆ ให้เราเข้าใจถึงบริบทของเหตุการณ์ตลอดทั้งเรื่อง
แม้เราจะถูกผูกติดกับ Vesemir แต่ตัวละครนี้ก็เปรียบเสมือนกุญแจ ช่วยไขข้อมูลให้เราเหมือนกัน ตั้งแต่เรื่องราวกระบวนการการเป็น Witcher, การเมืองภายในของโลก, สงคราม เรียกได้ว่าทุก ๆ อย่างที่เราอยากจะเห็น Vesemir พาเราไปสัมผัสแทบทั้งหมด
รีวิว The Witcher – Nightmare of the Wolf
องค์ประกอบที่สำคัญ ๆ ของ The Witcher อย่างตัวเลือกที่ “ไม่มีอะไรถูก ไม่มีอะไรผิด” ก็ยังอยู่ใน The Witcher: Nightmare of the Wolf เหมือนกัน คุณจะได้ขบคิดในแต่ละการกระทำของตัวละครต่าง ๆ แม้กระทั่งตัว Vesemir เองด้วยว่า พวกเขากำลังทำอะไร
พวกเขาทำถูกหรือไม่ และใครกันแน่คือผู้ร้าย สิ่งนี้ The Witcher ยังทำได้ดีไม่ว่าจะสื่อไหน ๆ ด้วยการโยนเหตุการณ์ก้ำกึ่งทางศีลธรรมในแบบ “กลืนไม่เข้าคายไม่ออก” ให้คนดูร่วมคิด ร่วมถกเถียงไปพร้อม ๆ กับตัวละครในเรื่องว่า อะไรดีคือดี อะไรคือแย่ และอะไรคือสิ่งที่แย่น้อยกว่า หรือมันอาจจะไม่มีอะไรดีอะไรแย่เลย เพียงแค่ความคิดแต่ละคนไม่ตรงกันแค่นั้น
สิ่งที่น่าสนใจ นอกจากพล็อต และเนื้อหา คงจะเป็นการออกแบบอนิเมชันที่น่ายกย่อง โดยผลงานการออกแบบครั้งนี้ ได้ Studio Mir สตูดิโอในตำนานที่ผ่านงานอนิเมชันมาแล้วหลายต่อหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น The Legend of Korra, Dota: Dragon’s Blood และอื่น ๆ อีกมากมาย
มาเนรมิตโลกของ The Witcher ให้เรา คุณจะได้เห็นโลกในรูปแบบที่ตัว Vesemir เห็น สัมผัสอย่างที่ Vesemir สัมผัส ใน ๆ ทุกอารมณ์ความรู้สึก ไม่ว่าจะเป็นความโหดร้าย ความแห้งแล้ง ความสนุก ทุกอุณภูมิ ทุกฟีลลิ่งต่าง ๆ Studio Mir ตีโจทย์แตกได้ทั้งหมด
โดยเฉพาะฉากต่อสู้หลาย ๆ ฉากที่เป็นประเด็นสำคัญของเรื่อง ต้องขอบคุณพวกเขาที่ส่งต่ออารมณ์ความรู้สึกผ่านภาพเคลื่อนไหว โดยไม่จำเป็นต้องมีการพูดอธิบายเพิ่มเติมจากตัวละครให้ยืดยาว เพียงลักษณะการกระทำของฉาก ๆ
หนึ่งในช่วงเวลาไม่กี่นาที Studio Mir ใช้ช่วงเวลาเหล่านั้นอธิบายบริบทต่าง ๆ ให้ผู้ชมเข้าใจได้อย่างไม่น่าเชื่อ ราวกับว่าพวกเขาเชื่อมโยงกระแสจิตกับทีมเขียนบท และถอดตัวอักษรต่าง ๆ ออกมาเป็นภาพได้อย่างสมบูรณ์แบบ
The Witcher: Nightmare of the Wolf เป็นอีกหนึ่งผลงานที่น่าสนใจมาก ๆ ในแฟรนไชส์ของ The Witcher เพราะมันก็คือการเล่าเรื่อง “ที่ยังไม่ถูกเปิดเผย” ของตัวละครสำคัญในโลกนี้ เปรียบเสมือนบันทึกประวัติศาสตร์ของเรื่องราวก่อนหน้าที่ควรจะรู้เอาไว้
อีกทั้งยังเป็นเรื่องราวยืนเดี่ยวที่ยอดเยี่ยมในตัวเอง มีทั้งความรัก ความทุกข์ การหักหลัง ไม่ว่าคุณจะเป็นแฟน The Witcher หรือไม่ นี่คืออนิเมชันเรื่องเยี่ยมอีกหนึ่งเรื่องของปีนี้ ที่คุณไม่ควรพลาด
ความรู้สึกหลังดู
เวอร์ซีเมียร์ (ให้เสียงพากย์โดยธีโอ เจมส์ – Theo James) มือสังหารปีศาจเผ่าวิตเชอร์ที่ทำงานแลกกับเงินทองมาทั้งชีวิตต้องเผชิญกับวิกฤติการณ์สำคัญเมื่อมีปีศาจพันธุ์ใหม่ออกไล่ฆ่าผู้คนโดยมีเบื้องหลังสุดดำมืดที่เขาต้องหาต้นตอคนเพาะพันธุ์ปีศาจมหาประลัยเหล่านี้ เวอร์ซิเมียร์ต้องออกไล่ล่าเพื่อกำจัดภัยร้ายก่อนทั้งอาณาจักรจะล่มสลาย
แต่สิ่งที่น่าชื่นชมมาก ๆ ในเนื้อเรื่องของ ‘The Witcher: Nightmare of the Wolf’ คือการเล่าเรื่องซ้อนทับกันระหว่างเส้นเรื่องปกติกับเหตุการณ์แฟลชแบ็กที่ทำให้เห็นเลยว่าคนที่จะกลายมาเป็นเดอะวิชเชอร์ได้ต้องก้าวข้ามอะไรมาบ้าง
รับรองได้เลยว่าดูแล้วจะเข้าใจทั้งการกระทำของเวอร์ซิเมียร์ในฉบับแอนิเมชันและเกอร์รอลต์ในฉบับซีรีส์เลยทีเดียวรวมถึงเหตุการณ์เบื้องหลังเหล่าปีศาจที่ออกอาละวาดเองก็สามารถวิพากษ์ความชั่วร้ายของระบบทุนนิยมได้อย่างเจ็บแสบอย่างยิ่ง หากใครจะมาเทียบเคียงกับการจัดหาวัคซีนและการแก้ไขวิกฤติโรคโควิด-19 ระบาดก็ไม่น่าแปลกใจเลยสักนิด…
ตัวเรื่องยังมีจุดหักมุมพอสมควร ตัวละครในเรื่องนี้มีความเป็นสีเทาสูงมาก แทบะหาคนที่เป็นสีขาวหรือสีดำไปหมดเลยได้ยาก ฝั่งวิชเชอร์เองก็ไม่ได้เป็นคนดีอะไรนักหนา พวกเขาก็ทำสิ่งต่างๆเพื่อความอยู่รอดของตนเอง ถึงขั้นลงมือทำบางเรื่องที่เป็นการทำลายชีวิตของบางเผ่าพันธุ์
แต่กลุ่มอื่นๆก็ไม่ได้ดีกว่ากันไม่ว่าจะเป็นพวกแม่มด เอล์ฟ และฝ่ายมนุษย์ เรียกว่าทุกฝ่ายล้วนต่อสู้เพื่อความอยู่รอดและผลประโยชน์ของตนเอง โดยมีเรื่องของศีลธรรมอยู่ด้านหลัง แต่ตัวเรื่องก็ไม่ได้เอาแต่ดาร์ค มืดมนสุดกู่เสมอไป
เพราะในความมืดมิดก็ยังมีแสงสว่างและความดีงามแฝงอยู่เหมือนกัน ซึ่งเรื่องนี้จะถูกนำเสนอผ่านตัวของเวเซเมียร์ที่จะมีพัฒนาการในเรื่องตามลำดับ
สุรปภาพรวมแล้ว นี่เป็นหนึ่งในสุดยอดอนิเมชั่นของ Netflix ที่ต่อให้ไม่ใช่แฟนวิชเชอร์ก็ไม่ควรพลาด
เป็นการสร้างมาตรฐานที่สูงเลยทีเดียวสำหรับงานอนิเมชั่นของตะวันตกครับ