รีวิว Trolls โทรลล์ส
หนังที่เต็มไปด้วยเสียงเพลง ดอกไม้ สายรุ้ง การกอด ความหวาน และความสนุกสนาน ขององค์หญิงตัวน้อยกับเหล่าพ้องเพื่อนที่แสนรัก กับบทเพลงยอดนิยมระดับโลก ที่ถูกหยิบยกมาเล่าเป็นหนังกับกระแสตอบรับที่มากมายจนต้องสร้างภาค 2 กับเรื่องราวที่ห้ามพลาด ในบรรดาทีมนักทำแอนิเมชั่นที่ได้รับการยอมรับในโลกฮอลลีวู้ดคงมีชื่อของ
DreamWorks Animation อยู่ในนั้นด้วยเป็นแน่ ด้วยผลงานที่เป็นใครก็ต้องรู้จักอย่าง ‘Shrek’ ที่ทำให้ใครต่างรู้ฝีมือเป็นอย่างดี แต่หนนี้ พวกเขาจัดแอนิเมชั่นเรื่องใหม่มาสู่สายตาชาวโลก ด้วยคาแรคเตอร์ที่ไม่ค่อยคุ้นตาคนไทยนัก เจ้าตัวเล็กหลากสีหัวฟูที่ชื่อ ‘Trolls’ ในเรื่องราวที่ว่าด้วยความสุขที่ดูเหมือนมีแต่คนมองข้าม
เรื่องนี้มีผู้กำกับฯ สองคน คนหนึ่งเป็นผู้กำกับฯ มาอยู่ก่อนแล้วทั้งหนังสั้น ซีรีส์ และภาพยนตร์ โดยเฉพาะ ‘Shrek Forever After’ เขาคือ Mike Mitchell ครับ ส่วนอีกคน Walt Dohrn ประสบการณ์ในหน้าที่กำกับฯ ยังไม่เยอะนัก แต่ก็เคยเขียนบทและดูแลบทมาหลายต่อหลายเรื่อง ได้เป็นผู้กำกับฯ ร่วมในหนังขนาดยาวกับเขาเสียที
ไม่มีอะไรมาก ก็เห็นหนังเขาดีก็เขียนถึงให้เครดิตกันหน่อยจะเป็นไรไป
โทรลล์ส เป็นชาติพันธุ์ที่ตัวเล็ก แต่มีลักษณะเด่นคือ มันมีผมที่แสนยาว สามารถยืดหดได้ตลอด ชอบร้องเพลงเป็นชีวิตจิตใจ ตัวเอกของเราก็เป็นโทรลล์สระดับลูกสาวของผู้นำ เธอคือ ป๊อปปี้ (แอนนา เคนดริค/Anna Kendrick) ผู้ที่จะได้เป็นผู้นำโทรลล์สคนต่อไป เป็นพวกมองโลกในแง่ดี เธอจัดงานใหญ่ยักษ์เพื่อความสุขของคนในดินแดนโทรลล์ส
ทว่ามันกลับไม่ถูกใจโทรลล์สผู้มองโลกในแง่ร้ายตัวหนึ่ง
แบรนช์ (พากย์เสียงโดย จัสติน ทิมเบอร์เลค/Justin Timberlake) คือโทรลล์สผู้หมองหม่นตนนั้น ซึ่งมันก็มีเหตุผล งานปาร์ตี้ครั้งนั้นนำมาซึ่งหายนะ ชนเผ่ายักษ์เบอร์เก้นผู้ชอบกินเนื้อโทรลล์สมุ่งหน้ามาแล้วจับตัวเหล่าตัวจ้อยเหล่านั้นไป
เดือดร้อนแล้วสิ ป๊อปปี้ต้องการพาเพื่อนเธอกลับมาให้ได้ ขณะที่แบรนซ์ไม่เห็นด้วย แต่ในที่สุด พวกเขาก็ต้องทำภารกิจนี้ให้สำเร็จโดยไม่รู้ว่าจะมีชีวิตรอดกลับมาหรือไม่
จะเรียกว่าคาดหวังไว้ได้หรือไม่ก็ตาม ผมมีความคิดนึงหนังเรื่องนี้ก่อนจะเข้าโรงไปดูว่า น่าจะออกมาไม่เลว แม้ว่ากระแสมันออกจะเงียบไปสักนิด ซึ่งหลังหนังจบก็พบว่า มันออกมาดีทีเดียว และผมมีความสุขมากกับ ‘โทรลส์’ เรื่องนี้
ชอบแนวคิดคาแรคเตอร์มากกนายแพทอาจจะไม่ใช่พวกที่เติบโตมาในช่วงที่ตุ๊กตาโทรลล์สโด่งดัง ไม่รู้หรอกว่าคาแรคเตอร์ของพวกมันเป็นอย่างไร แต่ก็พอจะเคยเห็นมาบ้างผ่านๆ ตา พอมาได้เจอพวกมันในหนังแอนิเมชั่น ได้พบว่าพวกมันอารมณ์ดีเพียงใด ร้องเพลงเก่งแค่ไหน ผมก็ตกหลุมรักในพวกมันแทบจะทันที
ชอบแนวคิดและเทคนิคการสร้าง ตัวของโทรลล์สเหมือนเป็นดินน้ำมัน แปะตา หู จมูกลงไป แล้วใส่ผมยาวๆ บนหัว เสื้อผ้า-ต้นไม้ต่างๆ มีพื้นผิวเหมือนผ้ากำมะหยี่ ดูนุ่มๆ ฟูๆ
ดูเป็นงานละเอียดและน่าประทับใจอย่างมาก มากจริงๆนอกจากนี้ ยังชอบแนวคิดการอยู่ร่วมกันในชนเผ่าโทรลล์สมาก ถ้ามองดูให้ดีจะพบว่าพวกมันนั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ทั้งสีตัว สีผม แต่ไม่สำคัญเท่าบางตัวก็มีสี่ขา บางตัวเกิดมาหน้าตาเอ๋อพูดก็ไม่ได้ แต่พวกมันก็อยู่ร่วมกันได้โดยไม่ถูกมองเป็นตัวประหลาด
แต่หนังก็มีความง่ายเพื่อให้เด็กเข้าใจ หนังใส่พวกเบอร์เก้นให้มีลักษณะขนาดที่ใหญ่กว่าอย่างที่โทรลล์สจะต้องมองว่าเป็นยักษ์ แต่เบอร์เก้นกลับเป็นพวกที่หาความสุขให้กับตัวเองไม่เป็น และสั่งสอนกันเป็นทอดๆ มาว่า พวกมันจะมีความสุขได้ก็ต่อเมื่อได้กินเนื้อพวกโทรลล์ส
คิดไปก็ช่างเป็นเผ่าพันธุ์ที่น่าสงสารแท้…อารมณ์ดี มีความสุขมาก
ตลอดทุกช่วงเวลาของหนัง ‘โทรลล์ส’ จะมีบทเพลงเข้ามาแทรกระหว่างการดำเนินเรื่องตลอด ซึ่งก็มักจะเป็นเพลงที่เราคุ้นเคยทั้งเพลงเก่าและใหม่ ที่นำมาดัดแปลงเนื้อร้องไปบ้าง แต่ส่วนใหญ่ยังคงเดิม และนำมาใช้เพื่อรองรับเรื่องราวและอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครในช่วงนั้นโดยเฉพาะเพลงเร็วที่ชักชวนให้ขยับตามอย่างมากๆ
รีวิว Trolls โทรลล์ส
สองนักพากย์ตัวนำอย่าง แอนนา และจัสติน พวกเขามีความสามารถด้านร้องอยู่แล้วจึงไม่ใช่งานยากเย็นอะไรที่จะรับหน้าที่ทั้งพากย์และร้อง ต้องยอมรับว่าเสียงแอนนามันให้กับบทนางเอกที่แสนจะมองโลกในแง่ดีอย่างมาก ขณะที่เสียงร้องของจัสตินนั้นต้องอดทนรอกันนิดนึงกว่าพี่ท่านจะเปิดปากร้องออกมาได้
ใครดูเรื่องนี้แล้วไม่อารมณ์ดีต้องบอกว่าผิดประหลาดเอามากๆ
เนื้อเรื่องไม่ซับซ้อน ไม่ใหม่ แต่เล่าได้สนุกมาก
ถ้าจะพูดถึงพล็อตและเนื้อเรื่องมันก็ไม่ได้มีอะไรที่แปลกแตกต่างออกไปนักจากแอนิเมชั่นสำหรับครอบครัวและเด็ก ผู้อ่อนแอกว่าถูกรังแกจากผู้แข็งแกร่งกว่า และด้วยความกล้าหาญ พวกเขาจึงไปบุกและเสี่ยงชีวิตเพื่อช่วยเพื่อนออกมา
แต่ด้วยการเล่าที่สนุกมากๆ สร้างความประทับใจด้วยเทคนิคการสร้างภาพและคาแรคเตอร์ที่ดูเบานุ่มนิ่ม สีสันสวยงาม และน่ารักอารมณ์ดี พวกเขาหยิบนั้นเพลงนี้มาร้องกันตลอดเวลา มีมุกตลกน่ารักให้ได้คิกคักกันตลอดเวลา
พวกเขามีนาฬิกาวิเศษที่เตือนให้กอดกันด้วย
มันช่างแสนน่ารักอะ เผ่าพันธุ์ที่มองโลกในแง่ดี มีความรักความห่วงใยให้กัน ซึ่งความน่ารักอันนี้มันเผื่อไปถึงคนนอกเผ่าพันธุ์ตัวเองด้วย
เรื่องราวของ ‘โทรลล์ส’ เหมือนนิทานก่อนนอนแต่เล่าด้วยการผสมผสานนิทานหลายๆ เรื่องจับมายำรวมกัน เป็นมิวสิกคัลที่ดูสมัยใหม่โดนใจทุกวันตั้งแต่เด็กยันแก่ พร้อมทั้งประสานเรื่องราวความสุขที่ควรจะเป็นสิ่งที่เราสร้างกันได้เอง ไม่จำเป็นต้องไปหยิบยืมคนอื่นเหมือนที่พวกเบอร์เก้นจะสุขได้ก็คือต้องกินเนื้อพวกโทรลล์สเสียก่อน
มันจึงเป็นหนังน่ารัก สีสันสวยงาม แถมดูไปก็ยังอยากจะขยับแข้งตามตัวละครไปด้วย ดูหนังจบเดินออกไปนอกโรง ใบหน้ายังเปื้อนยิ้มอยู่เลย เพราะพวกโทรลล์สมัน “โคตรน่ารัก” อย่าลืมนะ
ความรู้สึกหลังดู
ความสุขมีอยู่ในตัวเราทุกคน…
หนังที่ทำให้เราประทับใจได้ในเข้าฉาก ผ่านการสื่อสารกับบทเพลงอย่างเข้าใจคิด ที่ทำให้เราอยากกลับไปฟังเพลงตัวเต็มอีกครั้ง หนังเพลงที่ทำออกมาได้อย่างใส่ใจและน่าติดตาม และแฝงข้อความที่น่าสนใจว่าคนเราสามารถสนุกและมีความสุขเพียงปรับเปลี่ยนมุมมองและรู้จักเรียนรู้และให้อภัยกับตัวเอง
โดยTrolls World Tour ภาคนี้ได้เล่าย้อนตำนานของโทรลส์ ว่าด้วยกำเนิดแห่งเสียงดนตรีเมื่อพระเจ้ามอบสายเสียงที่เหมือนสายพิณไว้ให้ 6 สายแทนแนวเพลงแต่ละแนวทั้งคลาสสิก, ร็อก, พอป, เทคโน, คันทรีย์ และ ฟังก์ จนกระทั่งวันหนึ่งก็มีอันทำให้โทรลส์แต่ละเผ่าเอาสายเสียงของแนวเพลงตัวเองไปเก็บไว้ โดยไม่มีใครรู้ว่าใครเป็นสาเหตุที่ทำให้โทรลส์แต่ละเผ่าพันธุ์ต่างแบ่งแยกแตกความสามัคคีและมุ่งแต่จะรักษาเส้นเสียงและแนวดนตรีของตัวเองให้ดีที่สุด
และนั่นก็เป็นที่มาให้ตัวละครใหม่ในภาคนี้อย่าง บาร์บ (ราเชล บลูม) โทรลส์เผ่าร็อคเดินหน้ารุกรานโทรลส์พันธ์ุอื่น ๆ โดยหวังเอาเพลงแนวร็อคให้เป็นจุดประสานให้โทรลส์กลายเป็นหนึ่งเดียวอีกครั้ง และที่ผมต้องเขียนถึงบาร์บก่อนจะกล่าวถึงตัวละครพระนางอย่าง พอปปี (แอนนา เคนดริก) และ แบรนช์ (จัสติน ทิมเบอร์เลค) ก็เพราะตัวหนังในภาคนี้เองขับเคลื่อนด้วยตัวร้าย (Antagonist) อย่าง บาร์บ เป็นหลักและมันยังทำให้เห็นว่า พอปปี เองก็เหมือนอีกด้านของบาร์บในแง่ของการเอา ความเป็นหนึ่งเดียวมาเป็นข้ออ้างในการยึดครองคนอื่น ผิดเพียงแค่พอปปีหวังว่าทุกคนจะกลายเป็นเพื่อนกันหากโทรลส์ทุกคนชอบอะไร “เหมือนกัน”
และโดยที่ไม่ต้องอธิบายอะไรมาก Trolls World Tour ก็แทบจะมีสารทางการเมืองชัดเจนเหลือเกินและการที่มันมาในรูปแบบแอนิเมชันก็ทำให้มันสื่อสารกับเด็กได้เข้าใจง่ายเสียด้วย ว่าคนเราไม่จำเป็นต้องเหมือนกันหมด ยิ่งเมื่อแทนค่าแนวดนตรีด้วยสีผิว ศาสนา หรือความเชื่อแล้วล่ะก็ยิ่งชัดเจนทีเดียว โดยหลักฐานสำคัญนอกจากคำพูดของบาร์บที่เหยียดแนวเพลงพอปว่าไร้แก่นสารและมีดีแค่ท่อนฮุกติดประสาทแล้ว แม้แต่พอปปีเองก็ยังพยายามจะท้าทายความเชื่อของ โทรลส์เผ่าคันทรีย์ว่ามีแต่เพลงเศร้าและหดหู่ จนเผลอร้องเพลง Who let the dogs out จนกลายเป็นข้อบาดหมางใหญ่โต
และเมื่อเราเอาพลอตของหนัง Trolls ทั้ง 2 ภาคมาเทียบเรากลับพบความเชื่อมโยงในความต่างของภารกิจของพอปปีและแบรนช์ทั้ง 2 ครั้ง หากคราวที่แล้วพวกเขาต้องช่วยโทรลส์จากสัตว์ประหลาดที่จับพวกเขาเป็นอาหาร คราวนี้ก็กลายเป็นการปกป้องแนวเพลงตัวเองก่อนจะถูกกลืนกินจนอัตลักษณ์ของดนตรีตัวเองต้องหมดสิ้น จนสมองก็ซุกซนไปคิดถึงเรื่องราวความขัดแย้งทางชาติพันธุ์และสีผิวที่สหรัฐอเมริกาเมื่อไม่นานมานี้แบบอัตโนมัติเลยล่ะ
และนั่นมันก็เปิดโอกาสให้เราได้ไปรู้จักแนวเพลงต่าง ๆ ผ่านการเดินทางของพวกเขาที่ยิ่งผ่านเวลาของหนังก็ยิ่งเห็นการหยิบยืมและปรับเปลี่ยน ทั้งพอปและร็อกที่ต่างก็มีฮุคโดน ๆ ไม่ต่างกัน หรือไม่ว่า ฟังก์ ฮิปฮอป หรือ เค-พอป ต่างก็มีแขนขาเป็นทำนองและจังหวะ จนเป็นที่มาของตอนจบสุดประทับใจ ซึ่งตรงนี้ต้องบอกว่ามันสามารถถ่ายทอดเรื่องยาก ๆ อย่างอัตลักษณ์ของดนตรีแต่ละประเภทได้ดีมากเหมาะกับเด็กจริง และก็แฝงข้อคิดของการยอมรับในความต่างของเพื่อนร่วมโลกให้เยาวชน จนเรากล้าคาดหวังเลยว่าหนังเรื่องนี้จะกล่อมเกลาให้พวกเขามองคุณค่าของมนุษย์ให้เท่ากันให้จงได้.
ส่วนข้อเสีย หนังยังมีจุดด้อยอยู่บ้างในเรื่องความสดใหม่ และมุกตลกที่บางทีก็ไม่เข้าเป้าหรือคนพากย์เล่นยังไม่ลงตัว โดยเฉพาะมุกเหนียม ๆ ของเจมส์ คอร์เดน ที่พากย์เป็น บิ๊กกี ที่เจ้าตัวดูจะถนัดมุกกาว ๆ มากกว่า แต่กระนั้นพอเพลงดัง ๆ ติดหูมาทีไรทั้ง Rock You Like A Hurricane , One More Time หรือจะเป็นเพลงเคพอปอย่าง Russian Roulette ของ Red Velvet ดังขึ้นมาก็อดจะโยกตามไม่ได้จริง ๆ จนกลายเป็นโปรแกรมที่ทำให้เรายิ้มกว้างที่สุดหลังโรงหนังเปิดได้เลย